ปัจจุบันพบว่า มีประชากรที่เป็นกลุ่ม
ผู้สูงอายุสูงมากขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ที่กำลังจะเกิดภาวะที่มีประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุ สูงถึง 10 ล้านคน และจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 14ล้านคนในปี 2564 นี้ (จากสถิติสำนักงานแห่งชาติ พ.ศ.2557) ใน 10 ล้านคน พบว่าเป็นผู้ชาย 4 ล้านกว่าคน และผู้หญิง 5 ล้านกว่าคน และ1 ใน 3 จะมีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะ
“โรคกระดูกพรุน“
โรคกระดูกพรุน
เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมา แต่จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อ กระดูกทรุดโทรม เสื่อมสภาพ จะเกิดอาการเจ็บ หรือปวด โดยส่วนมากผู้สูงอายุจะมีอาการเจ็บปวดตามข้อกระดูกเวลาเดิน นั่ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน จะสังเกตได้ว่า กระดูกจะหักง่าย เนื่องจากมวลกระดูกหนาแน่นน้อยลง
แม้แต่การลื่นล้มเพียงเล็กน้อย หรือการใช้มือค้ำพื้นเมื่อเกิดการลื่นล้ม ก็ส่งผลให้กระดูกข้อมือหักได้เช่นกัน การใช้มือยันตัว ด้วยความที่กระดูกบาง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่ จึงทำให้กระดูกข้อมือหักนั่นเองค่ะ
ผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ความเสื่อมสภาพของร่างกาย อุบัติเหตุที่เกิดบ่อยที่สุด คือ การลื่นล้ม หกล้ม เราอาจจะมองว่าล้มนิดหน่อยคงไม่เป็นอะไรมาก แต่สำหรับผู้สูงอายุนั้นสามารถทำให้กระดูกหัก และถึงขั้นพิการได้ง่าย
ป้องกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของกระดูกในวันข้างหน้า
เมื่อเราทราบกันแล้วว่า เมื่ออายุมากขึ้นร่างกาย หรือแม้แต่กระดูก ก็มีวันเสื่อมสภาพลงได้ เราจึงต้องดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การกิน การออกกำลังกาย แต่เราต้องดูแลไปถึงสุขภาพของกระดูกที่คอยรับน้ำหนักตัวของเราด้วยการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ทานนมจืด ก่อนนอน ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายและกระดูกมีความยืดหยุ่น สะสมมวลกระดูกให้หนาแน่นด้วย
แคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุแคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุ
เมื่อเริ่มอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป การทานอาหารปกติ ไม่สามารถเสริมสร้างแคลเซียมสุทธิให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการได้ จึงจำเป็นที่ต้องหาตัวช่วยเสริม คือ
แคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ต้องทานวันละ 1,000 มิลลิกรัม สำหรับผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัย 50 ปีขึ้นไป ควรทานแคลเซียมสุทธิวันละ 1,500 มิลลิกรัม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกทั่วร่างกายของเราค่ะ
สำหรับใครที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน ต้องการ
แคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุ หรือวิธีการดูแลผู้สูงอายุ พร้อมความรู้
มากมายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็เข้ามาพูดคุยกับพวกเราได้ที่ http://www.cal-t.comFacebook :
https://www.facebook.com/CalTthailand/