จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของกระดูก โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การที่เรารู้ถึงโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนก่อนล่วงหน้า จะช่วยวางการรักษาแนวทางป้องกันไว้ได้ทันท่วงที
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคกระดูกพรุนกันเบื้องต้น คือภาวะปริมาณเนื้อของกระดูกลดลง และมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง กระดูกเกิดการหักได้ง่าย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรป้องกันและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 % แต่ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้เพียงร้อยละ 10 %
ตรวจมวลกระดูก
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ด้วยการตรวจวัดค่า มวลกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) เพื่อจะได้ทราบว่าสุขภาพของกระดูกอยู่ในระดับปกติดีมากน้อยเพียงใด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการตรวจหาโรคกระดูกพรุนเนื่องจากเป็นการหาค่าความแข็งแรงของกระดูกได้โดยตรง มีเครื่องมือหลายชนิดที่สามารถวัดค่ามวลกระดูกได้
ส่วนของการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับแคลเซียม เป็นการตรวจดูระดับแคลเซียมในเลือด การเจาะหาแคลเซียมในเลือดนี้ยังไม่ได้บอกว่าท่านรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมพอหรือไม่เพียงพอ แค่บอกว่ามีแคลเซียมในเลือดท่านเป็นปริมาณเท่าใดไม่ใช่การวัดความหนาแน่นของกระดูก
ถ้าเราจะหาภาวะโรคกระดูกพรุนนั้น ควรตรวจด้วยการหาความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเห็นผลที่ดีกว่า ส่วนการวัดระดับแคลเซียมในเลือดจะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นหรือไม่เป็น โรคกระดูกพรุน อีกทั้งโรคกระดูกพรุนยังมีสาเหตุหลักอยู่ที่โครงสร้างของกระดูกมากกว่าปริมาณแคลเซียม
วิธีการตรวจมวลกระดูก
ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดมวลกระดูกให้ความถูกต้องแม่นยำสูง สามารถใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วนรวมทั้งมวลกระดูกทั้งร่างกาย โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา ปลายกระดูกข้อมือ
เนื่องจากโรคกระดูกพรุนเกิดขึ้นกับสตรีในวัยหมดประจำเดือนเป็นส่วนใหญ่ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยผู้สูงอายุ ควรเน้นการป้องกันโรคกระดูกพรุนมากกว่ารักษา การป้องกันที่ทำได้ง่ายๆ คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การกินอาหารเสริมแคล-ที แคลเซียมแอลเทรเนต (แอล-ทรีโอเนต) เพื่อปกป้องพร้อมเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง แคลเซียมสกัดจากข้าวโพด ไม่ก่อสารตกค้างในร่างกาย ละลายน้ำได้ดี ช่วยเสริมสร้างและปกป้องกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cal-t.com/