จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลงเมื่อเข้าสู่ช่วงที่อายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะเรื่องของกระดูกที่ผ่านการใช้งานมาตลอด จึงเริ่มมีการสึกหรอ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกมากมาย และอาจส่งผลร้ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเมื่อมีการหกล้ม หนึ่งในโรคกระดูกที่มักพบ ก็คือโรคกระดูกพรุน
วันนี้เราจึงนำข้อมูลความรู้ดีๆ พร้อมวิธีเตรียมการรักษาอย่างทันท่วงทีมาฝากกันครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคกระดูกพรุนกันก่อนโรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหักได้ง่ายกว่าปกติ พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในสตรีสูงอายุ
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้แก่
1 ปัจจัยด้านพันธุกรรมเช่น เพศหญิง รูปร่างบาง เชื้อชาติเอเชีย
2 ปัจจัยด้านฮอร์โมนเพศหญิงเช่น การหมดประจำเดือนเร็ว หรือวัยหมดประจำเดือน
3 ปัจจัยด้านโภชนาการเช่น การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อย บริโภคสุรา หรือสูบบุหรี่จัด
4 ปัจจัยโรคทางอายุรกรรมเช่น โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด การใช้ยาบางชนิดเป็นระยะยาวนานเช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
ส่วนใหญ่เราจะทราบว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ด้วยการตรวจมวลกระดูก ด้วยเครื่องตรวจ EXA Scan เป็นวิธีการตรวจมวลกระดูก ที่มีความแม่นยำสูง และถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยองค์การอนามัยโลก(WHO)
โดยทั่วไปนิยมตรวจมวลกระดูก ตำแหน่งที่มีโอกาสหักได้ง่ายและเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine) กระดูกข้อสะโพก (Hip) กระดูกปลายแขน (Forearm) และกระดูกข้อเท้า ผู้ที่ควรได้รับการตรวจมวลกระดูกได้แก่ สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนเช่น สูบบุหรี่
ถ้ารู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนยิ่งเร็วยิ่งหาทางแก้ไขได้เร็ว โดยเราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ด้วยตนเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง พร้อมรับทุกโรคอย่างแข็งแรงสมวัย
สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและรู้ทันโรคกระดูกพรุนด้วยการวัดความหนาแน่นของกระดูก(การวัดมวลกระดูก)เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cal-t.com/รู้ทันโรคกระดูกพรุน