จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลง1. โรคหลอดเลือดหัวใจ
ไขมันทรานส์เป็นไขมันตัวร้ายที่เข้าไปเพิ่มไขมันชนิดเลว (LDL) ในร่างกาย เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ และลดปริมาณไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งความร้ายกาจนี้เองที่อาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เนื่องจากเมื่อปริมาณไขมันชนิดไม่ดีสะสมอยู่ในร่างกายเยอะ ไขมันเหล่านี้จะพากันเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด ยิ่งสะสมมาก ๆ ผนังหลอดเลือดก็จะอุดตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานด้อยประสิทธิภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือหากเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ก็อาจเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน
2. โรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง
3. โรคความดันโลหิตสูง
เมื่อร่างกายมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดมากขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก จะกระทบต่อความดันโลหิตในร่างกายด้วยนะคะ โดยความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีระดับขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่สม่ำเสมอ อันเป็นเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีภาวะอ้วน อาการป่วยเกี่ยวกับสมอง ต่อมหมวกไต ต่อมไร้ท่อหรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน เป็นต้น
4. โรคเบาหวาน
ผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ Wake Forest University พบว่า ลิงที่ถูกป้อนด้วยอาหารไขมันทรานส์สูง (8%) มีแนวโน้มอ้วนลงพุงและส่งผลให้ร่างกายไวต่ออินซูลิน ซึ่งเท่ากับว่าลิงที่กินไขมันทรานส์ติดต่อกันนาน ๆ อาจเป็นไปได้ว่าจะป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคอ้วนลงพุงควบคู่กันไป ซึ่งนักวิจัยเห็นตรงกันว่ากับร่างกายมนุษย์ก็เช่นกัน
กรดไขมันทรานส์มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุงได้ โดยคณะแพทยศาสตร์ Harvard Medical School พบว่า ไขมันทรานส์ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบเมตาบอลิก หรือระบบเผาผลาญของร่างกาย และกลุ่มทดลองที่กินอาหารไขมันทรานส์สูง ๆ ก็มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง รวมไปถึงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย
6. อัลไซเมอร์
ไขมันชนิดดีเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในกระบวนการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในด้านการเรียนรู้และจดจำ ทว่าหากกินไขมันทรานส์เข้าไปมาก ๆ ไขมันทรานส์จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ไขมันชนิดเลว ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งไปลดไขมันชนิดดีในร่างกาย แถมยังปล่อยสารอนุมูลอิสระ ส่งผลให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร โดยมีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับไขมันเลวในเลือดมากเกินปกติ มักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ บ่อยกว่าคนที่มีระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นอีกต่างหาก
7. ตับทำงานผิดปกติ
ร่างกายของเราไม่มีเอนไซม์หรือกระบวนการย่อยสลายไขมันทรานส์อย่างเฉพาะเจาะจง จึงส่งผลให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่ต่างไปจากการย่อยสลายไขมันปกติ ทำให้ตับต้องทำงานหนักมากขึ้นจนอาจเกิดภาวะผิดปกติต่อการทำงานของตับได้
8. นิ่วในถุงน้ำดี
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน NCBI เผยว่า กลุ่มเด็กวัยรุ่นผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากขึ้นถ้ามีพฤติกรรมกินไขมันทรานส์จากอาหารเป็นประจำ และเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ชายที่มีพฤติกรรมการกินอาหารไขมันต่ำ กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงโรคนิ่วในถุงน้ำดีน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด
9. มีลูกยาก
การศึกษาจาก Harvard School of Public Health พบว่า ผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก มักจะมีพฤติกรรมกินไขมันทรานส์มากกว่าผู้หญิงปกติ โดยแค่เพียงได้รับไขมันทรานส์มากกว่าผู้หญิงปกติ 2% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงภาวะมีบุตรยากเป็นสองเท่าเลยทีเดียว
10. จอประสาทตาเสื่อม
ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2015 พบว่า พฤติกรรมการกินไขมันทรานส์มาก ๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้เหมือนกัน เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นกรดไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และยังมีอนุมูลอิสระอยู่ในตัว จึงอาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความเสื่อมในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเร็วขึ้นกว่าปกติ
11. เหนี่ยวนำให้เกิดอาการอักเสบในร่างกายได้ง่ายขึ้น
12. มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน
การศึกษาจากสถาบันการพยาบาลแห่งชาติสหรัฐฯ พบว่า ไขมันทรานส์มีส่วนกระตุ้นความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน รวมไปถึงผู้หญิงที่มีร่างกายอ่อนแอ มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่ได้รับยาบางชนิดที่กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เห็นไหมคะว่าอันตรายจากไขมันทรานส์เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวมาก ๆ ดังนั้นหากเราหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ได้ ก็อย่าละเลยที่จะทำ เพราะนี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเราลดความเสี่ยงโรคจากการกินไขมันทรานส์ได้
ขอบคุณค่ะ