HNY-BNTop-Truthcaretoothpaste

navigate_beforeย้อนกลับ

pic400
0 

3 ความเข้าใจผิดที่ทำให้เสี่ยงเป็น “มะเร็งปากมดลูก”



1. การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วไม่ตรวจอีก ?

หลายๆท่านเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วจะไม่สามารถเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิด ในกรณียังไม่เคยติดเชื้อ การฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันได้ 70 % หากกรณีที่ติดเชื้ออยู่หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว กรณีนี้ฉีดวัคซีนป้องกันได้แต่ประสิทธิภาพจะลดลงมา และในกรณีที่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังคงต้องตรวจเป็นประจำเช่นเดิม เนื่องจากความแม่นยำผลการตรวจไม่ 100% ยังคงแนะนำให้ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ครบทุกสายพันธุ์ ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกเร็วก็สามารถรักษาให้หายได้


2. ไม่มีอาการความเสี่ยงจึงไม่ตรวจมะเร็งปากมดลูก ?

ในกรณีที่ถึงแม้ไม่มีอาการความเสี่ยง แต่เราสามารถไปตรวจมะเร็งมะเร็งปากมดลูกได้เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคต กรณีตัวอย่าง เช่น

     - ไม่มีตกขาว

     - ไม่มีอาการปวดท้อง

     - ปัสสาวะไม่ขัด

     - ติดเชื้อ HPV แต่ไม่มีอาการ

     - เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือ เลือดออก กะปริบกะปรอยและเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ หากมีอาการดังนี้ไม่ควรประมาท


3. ไม่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ?

     - ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ คู่นอนแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ มีความเสี่ยงได้

     - มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีคู่นอนคนเดียว

     - มีคู่นอนคนเดียว แต่แฟนอาจจะเปลี่ยนคู่นอนมาหลายคนแล้ว

     - ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ทานยากดภูมิ มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

     - เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เพิ่มอัตราความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

สรุปว่า ถึงแม้การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะมีอาการความเสี่ยงหรือไม่มีอาการความเสี่ยงก็ตาม หากมีคู่นอนแล้ว ผู้หญิงทุกคนควรให้ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ครบทุกสายพันธุ์ ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกเร็วก็สามารถรักษาให้หายได้ และไม่ควรประมาท เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของคุณผู้หญิง


มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ตรวจพบบ่อยในผู้หญิงไทย

โดยส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกติดมาจากเชื้อ HPV โรคมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อที่มีชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อ HPV มันสามารถเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราโดยไม่แสดงอาการใดๆ และจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อมีอาการค่อนข้างรุนแรงแล้ว


การตรวจมะเร็งปากมดลูก

1. การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)

เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้


2. การตรวจ HPV ในปัสสาวะ 

(การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากปัสสาวะ)

เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV จากปัสสาวะ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการตรวจ ลดคลายความกลัวและความอายสำหรับคนที่ไม่ต้องการตรวจภายใน แต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน


ข้อดีของ Urine HPV Test 

(การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากปัสสาวะ)

     - ทางเลือกของผู้หญิงที่กลัว และไม่กล้ารับการตรวจภายใน เพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

     - ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

     - ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง ไม่เจ็บ ไม่ต้องอาย

     - ตรวจง่ายจากปัสสาวะ

     - สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดินทาง

ข้อแม้ของการตรวจ Urine HPV Test

     - ตรวจปัสสาวะแรกของการตื่นนอน


ปัจจัยเสี่ยงนอกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

     • การสูบบุหรี่

     • มีระบบภูมิคุ้มกันพกพร่อง

     • รับประทานย-าคุ-มกำเนิดชนิดเม็ดเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี


ในทางสากลของโลก หากผลตรวจ Pap Smear และ HPV ตรวจพร้อมกันผลตรวจออกมาเป็นปกติ และไม่พบการติดเชื้อไวรัส HPV ก็สามารถยืดเวลาตรวจ เป็นตรวจทุกๆ 5 ปีแทนได้ แต่ยังต้องมีการตรวจภายในเป็นประจำอยู่เช่นเดิม แต่โดยทั่วไปคุณหมอในประเทศไทยจะแนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปี 


มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)⠀

เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง อาจมีอาการบ่งชี้ เช่น ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวคล้ายหนอง เลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติโดยที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือน มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่อยู่ในวัยทองมีเลือดออกหลังจากที่หมดประจำเดือนไปแล้ว


โดยทั่วไปมักไม่พบอาการแสดงในระยะแรกที่เริ่มป่วย แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ดังนั้นมะเร็งปากมดลูกส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ




โรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 4 ระยะ

     - ระยะที่ 1 : มะเร็งอยู่ที่ตัวปากมดลูกเป็นหลัก

     - ระยะที่ 2 : เซลล์ร้ายลุกลามออกไปยังช่องคลอดและด้านข้างของปากมดลูก

     - ระยะที่ 3 : เริ่มมีการแพร่ขยายไปถึงช่องคลอดและปากช่องคลอด ชิดผนังอุ้งเชิงกรานและท่อไต

     - ระยะที่ 4 : ลุกลามไปในกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ และอวัยวะใกล้เคียงเช่น ตับ ปอด


ใครมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก ?

     - ท่านที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ

     - มีคู่นอนหลายคน หรือกับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน

     - สูบบุหรี่

     - มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หนองใน เริม

     - ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

     - ผู้ที่ไม่เคยตรวจหรือฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


แหล่งที่มา

1. https://www.facebook.com/watch/?v=1401774220567747

2. https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/servix

3. https://www.hfocus.org/content/2022/09/25910


สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ Probiotic

เพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-821-5501

     Facebook : https://www.facebook.com/WinonaProbio

     Youtube : https://www.youtube.com/@bywinonaprobiotics2569

     E-mail : info@winonafeminine.com

     Website : https://winonaprobio.com/




49 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 2
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 3
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 4
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 5
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 6
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 7
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 8
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 9
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 10
Ok 
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 11
น่าสนใจค่ะ
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 12
👍
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 13
♥️
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 14
❤️
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 15
💞
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 16
ขอบคุณครับ
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 17
ขอบคุณค่ะ
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 18
ขอบคุณค่ะ
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณ​ที่​มา​แชร์​ค่ะ​
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 20
ได้ความ​รู้​มากๆ เลย​
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 21
ขอบคุณค่ะ
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 22
❤️
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 23
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 24
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 25
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 26
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 27
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 28
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 29
💕
September 02, 2023
ความคิดเห็นที่ 30
💕
September 02, 2023

1 / 2

What's new
รีวิวรองพื้นผิวโกลว์ bsc เนื้อบางเบา เล่นแสง ฟินิชแวววาว โดนใจสาวไทยป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริง5 อันดับบีบีครีม ยี่ห้อไหนดี บำรุงฉ่ำ ปกปิดเริ่ด ฟินิชงานผิวจากรีวิวผู้ใช้จริงSulwhasoo เริ่มต้นปีงูกับคอลเลกชั่นใหม่ Limited Edition ประจำปี 2025Sea Moss Gel คืออะไร? ส่อง 5 คุณประโยชน์ของ Sea Moss ที่สายเฮลตี้ต้องรู้11 โฟมล้างหน้าถูกและดี ผิวสะอาดใส ในราคาหลักร้อยอัปเดต 14 เรตินอลตัวปัง 2025 ยี่ห้อไหนใช้ดีหน้าใส ขนมาหมด!ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 12 - 18 ม.ค. 68 (ทุกราศี) รวมสถานที่ไหว้สักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง 12 ราศีที่ควรไปมูปี 2568กิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ Neutrogena Deep Clean Acne Foaming Cleanser วิปโฟมอะมิโน ตัวจบครบทุกปัญหาสิว จำนวน 100 รางวัล