How to สะสมคะแนน Cosmenet เก็บคะแนนให้ครบทุกวัน ต้องทำยังไงบ้าง?

navigate_beforeย้อนกลับ

pic400
0 

ภาวะไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่มาพร้อมความอ้วน



โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือไขมันเกาะตับ โดยทั่วไปไขมันพอกตับเป็นโรคเรื้อรัง เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดการสะสมไขมันในเนื้อตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน


โดยน้ำหนักไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นชนิดไตรกลีเซอไรด์ ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจเป็นภัยเงียบที่อาจไม่รู้ตัวและบ่งชี้ถึงโรคอื่นๆ ได้ โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยมีอาการแสดง แต่บางครั้งอาจมีอาการจุกแน่น ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก แต่หากปล่อยให้เป็นระยะเวลานานมากยิ่งขึ้น มีการอักเสบเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดตับแข็ง แต่ใช้เวลานานระยะเวลาที่เกิดอาการตับแข็ง จากภาวะไขมันพอกตับคือ 10-15 ปี ได้


กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ


ตับทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่เก็บสะสมพลังงาน การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมันตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ ในผู้ที่มีภาวะของโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว การรับประทานหวานหรือบริโภคน้ำตาลมาก และภาวะขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้ ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ป่วยบางรายที่เกิดไขมันพอกตับได้โดยไม่มีโรคเหล่านี้เลย


สาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่


1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ ระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ไขมันเข้าไปพอกในตับมากขึ้นได้เช่นกัน


2. จากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น...


     2.1 กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานสูงของร่างกาย (metabolic syndrome) เช่น ภาวะอ้วน อ้วนลงพุง น้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง

     2.2 โรคบางอย่างทำให้ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นได้ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ความดันเส้นเลือดตีบตัน โรคหัวใจ

     2.3 การรับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไปเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน ดื่มน้ำที่มีรสหวานแทนน้ำเปล่า

     2.4 ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ย-าคุ-มกำเนิด ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เช่น ยารักษามะเร็งเต้านม ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มต้านฮอร์โมน ฮอร์โมนบางอย่าง


อาการโรคไขมันพอกตับ


โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออก และเมื่อมีไขมันพอกตับสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ตับมีการบวมและ 10-20% ของผู้มีไขมันพอกตับจะเกิดอาการตับอักเสบได้ มักจะตรวจพบจากกรตรวจเลือดประจำ หรืออัลตราชาวด์ หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา และ 90 % มาจากภาวะอ้วน หรืออ้วนลงพุง โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ


รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีไขมันพอกตับ?

การตรวจพบโรคไขมันพอกตับ แบ่งระยะได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้


ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ

ระยะที่สอง เป็นระยะที่ริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่ควบคุมดูแล และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง

ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องเกิดพังผืด (brosis) สะสมในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงแทนที่ด้วยพังผืด

ระยะที่สี่ เชลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงนได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้เกิดตับแข็งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ


การวินิจฉัย

1. ประเมินจากประวัติสุขภาพ และการตรวจเลือดดูค่าเอนไซม์ตับ

2. การตรวจอัลตร้าซาวด์

3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

4. การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ

5. การตรวจระดับความแข็งของตับและวัดปริมาณไขมันในตับด้วยเครื่อง Fibro Scan


แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิคและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง การวิ่ง การปั่นจักรยาน เป็นต้น

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่น อาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ

- หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์ ที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี


https://www.vichaiyut.com/th/medical-centers/gastrointestinal-and-liver-center


ในปัจจุบันสถิติคนไทยร้อยละ 25- 30 หรือ 1 ใน 4 ของประชากร ส่วนใหญ่เป็นไขมันพอกตับ สาเหตุหลักๆมาจากการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์


เนื่องจากในปัจจุบันประชากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ด้วยพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารไม่ถูกหลักตามโภชนาการ จึงส่งผลให้เกิดไขมันพอกตับ หรือที่ใครหลายคนเรียกว่าไขมันเกาะตับ ตับคั่งไขมัน (Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) ซึ่งเป็นภาวะไขมันคั่งในตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานเข้าไปมาใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในตับ ที่มีลักษณะของไขมันแทรกซึมสะสมภายในเนื้อตับ และเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยส่วนใหญ่จะเกิดอาการตับอักเสบ จนเกิดพังผืด เมื่อสะสมเยอะขึ้นทำให้กลายเป็นตับแข็ง หากไม่ได้รับการรักษาในอนาคตผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้


ปัจจุบันการลดน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามปกติ เป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับที่ดีที่สุด และได้มีการศึกษาเรื่องยาที่จะนำมารักษาไขมันพอกตับ เช่น ยารักษาเบาหวาน กลุ่มวิตามินอี เชื่อว่าเป็น Antioxidant และช่วงหลังเริ่มจะมีกลุ่มยาเบาหวานบางชนิด อาจจะลดระดับน้ำตาลได้ไม่มากแต่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้เยอะ อาจจะมีความหวังสำหรับคนที่เป็นไขมันพอกตับได้ในอนาคต


 การดื่มแอลกอฮอล์จัดจะนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และโรคมะเร็งตับตามมา แต่กรณีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีจะไม่นำไปสู่ภาวะตับแข็ง แต่จะนำไปสู่มะเร็งตับได้เลย ดังนั้นจึงการตรวจคัดกรองมะเร็งตับจึงเป็นเรื่องสำคัญ


อาการของมะเร็งตับ

ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ แต่มักจะตรวจพบเวลาที่ไปตรวจร่างกายด้วยอัลตราซาวด์ หรือตรวจพบความผิดปกติของระดับโปรตีนบางชนิดในเลือด ส่วนมากจะเป็นคนที่มีไวรัสตับอักเสบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับที่ไปตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งหากโชคดีตรวจเจอมะเร็งตับระยะเริ่มแรก ซึ่งจะมีขนาดเล็กๆ ไม่กี่เซนติเมตร แต่เมื่อมะเร็งมีขนาดโต เช่น มากกว่า 8 – 10 เซนติเมตร ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ทานอาหารไม่ได้ ปวดแน่นท้องบริเวณด้านขวาหรือบริเวณลิ้นปี่ อาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่ขวา อาจคลำพบก้อนในท้องใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี่ในบางคนที่มีโรคตับแข็งร่วมด้วย และหากมะเร็งตับลุกลามมากอาจพบว่ามีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องมาน บางคนอาจจะมีอาเจียนออกมาเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ


การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด B หรือ ชนิด C แบบเรื้อรัง ภาวะตับแข็ง ซึ่งอาจเกิดจากไวรัส หรือสาเหตุอื่นๆ โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี เชื้อราชนิด Aflatoxin ซึ่งมีมากในอาหารพวกถั่ว พริก ที่เก็บเอาไว้เป็นระยะเวลานานๆ และนำมารับประทานโดยไม่ผ่านความร้อน และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบได้ แต่ไม่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงชัดเจนมาก เช่น โรคเบาหวานที่มีไขมันสะสมในตับมาก การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่เป็นโรคทางเดินน้ำดีอักเสบ ซึ่งไม่ค่อยพบในประเทศไทย


แหล่งที่มา

1. https://www.youtube.com/watch?v=llNNz58lLww

2. https://www.youtube.com/watch?v=HGrP7Q0Tr9g

3. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/fatty-liver-disease

4. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/fatty-liver-disease

5. https://www.cmu.ac.th/th/article/1ce1824b-d6d4-473f-ab07-015aed8a1a43


สนใจสั่งซื้อ จาก Winona Probio

หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ Probiotic

เพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-821-5501

LINE@ : https://page.line.me/khq1649x?oat__id=2226228&openQrModal=true

Facebook : https://www.facebook.com/WinonaProbio

Youtube : https://www.youtube.com/@bywinonaprobiotics2569

E-mail : info@winonafeminine.com

Website : https://winonaprobio.com/



39 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณค่ะ
6 ก.ย. 2566 เวลา 21:52 น.
ความคิดเห็นที่ 2
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 22:30 น.
ความคิดเห็นที่ 3
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 22:30 น.
ความคิดเห็นที่ 4
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 22:30 น.
ความคิดเห็นที่ 5
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 22:30 น.
ความคิดเห็นที่ 6
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 22:30 น.
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณค่า
6 ก.ย. 2566 เวลา 23:05 น.
ความคิดเห็นที่ 8
🥰
6 ก.ย. 2566 เวลา 23:05 น.
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณค่ะ
6 ก.ย. 2566 เวลา 23:55 น.
ความคิดเห็นที่ 10
😍
6 ก.ย. 2566 เวลา 23:55 น.
ความคิดเห็นที่ 11
Thanks 
7 ก.ย. 2566 เวลา 6:20 น.
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 8:09 น.
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 9:01 น.
ความคิดเห็นที่ 14
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 9:01 น.
ความคิดเห็นที่ 15
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 9:21 น.
ความคิดเห็นที่ 16
ขอบคุณที่มาแชร์กันนะคะ🧡💙💜❤️💛
7 ก.ย. 2566 เวลา 9:42 น.
ความคิดเห็นที่ 17
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 10:54 น.
ความคิดเห็นที่ 18
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 11:22 น.
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 11:51 น.
ความคิดเห็นที่ 20
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 12:01 น.
ความคิดเห็นที่ 21
(:
7 ก.ย. 2566 เวลา 12:03 น.
ความคิดเห็นที่ 22
✅️✅️✅️
7 ก.ย. 2566 เวลา 12:38 น.
ความคิดเห็นที่ 23
👍💕
7 ก.ย. 2566 เวลา 13:02 น.
ความคิดเห็นที่ 24
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 14:03 น.
ความคิดเห็นที่ 25
ขอบคุณค่ะ
7 ก.ย. 2566 เวลา 16:42 น.
ความคิดเห็นที่ 26
ขอบคุณ
8 ก.ย. 2566 เวลา 7:11 น.
ความคิดเห็นที่ 27
ขอบคุณค่ะ
8 ก.ย. 2566 เวลา 7:16 น.
ความคิดเห็นที่ 28
ขอบคุณค่ะ
8 ก.ย. 2566 เวลา 8:26 น.
ความคิดเห็นที่ 29
ขอบคุณสำหรับคามรู้ตะ
8 ก.ย. 2566 เวลา 11:27 น.
ความคิดเห็นที่ 30
ขอบคุณค่ะ
8 ก.ย. 2566 เวลา 12:10 น.

1 / 2

What's new
แนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันรีวิวมาสคาร่าขนตาพลุ ตัวใหม่จาก Maybelline ขนตาพุ่งกระจาย มีวอลลุ่มแบบ 360 องศาป้ายยาลิควิดบลัชตัวใหม่จาก Gentle Colors เนื้อละมุน เบลนด์ง่าย สีชัดติดทนนานมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 2568เป็นฝ้า ใช้ครีมอะไรดี 9 ยี่ห้อ หายทันใจ หน้าใสจนผู้เหลียว!8 รองพื้นเนื้อบางเบา ได้งานผิวเล่นแสง คุมมัน ไม่หยาไม่อุดตันดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 3 - 9 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ กันแดด BSC Expert White Spot Protect Sunscreen เผยผิวหน้ากระจ่างใสพร้อมท้าแดด จำนวน 250 รางวัล