จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลงไม่ใช่แค่คน แต่สัตว์เลี้ยงก็ต้องการโพรไบโอติกในร่างกายเช่นกัน
เมื่อพูดถึง “โพรไบโอติก” คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันดีว่าเป็นสารอาหารที่ดีต่อลำไส้ การขับถ่าย ไปจนถึงการดูแลร่างกายของมนุษย์ในหลายด้าน แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แค่คนเราที่ต้องการเท่านั้น เพราะเหล่าบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลายก็มีโอกาสเจ็บป่วยจากบรรดาแบคทีเรียก่อโรคได้เช่นกัน สำหรับคนที่เป็นคนรักสัตว์ เลี้ยงเพื่อนคู่ใจเอาไว้ข้างกายมาทำความรู้จักกับเรื่องน่าสนใจประเด็นนี้กันเลยดีกว่า
ทำความเข้าใจใหม่ สัตว์เลี้ยงก็ต้องการโพรไบโอติก
โพรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์ดีประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะบริเวณผนังลำไส้ แต่ไม่ใช่แค่คนเราเท่านั้นเนื่องจากในสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว กระต่าย ฯลฯ ภายในร่างกายของพวกเขาก็มีจุลินทรีย์ประเภทนี้อาศัยอยู่และยังถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิตอีกด้วย
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ศึกษาปริมาณจุลินทรีย์ดีในสุนัข ผลปรากฏคือจำนวนแบคทีเรียเหล่านี้ยังมีเยอะกว่าเซลล์ของสุนัขเองมากถึง 10 เท่า เลยทีเดียว! เหนือสิ่งอื่นใดพวกมันยังอาศัยอยู่แทบทุกจุดของสัตว์ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ เมื่อศึกษาลึกลงไปอีกก็ยังพบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโพรไบโอติกกับเซลล์สุนัขอยู่หลายรูปแบบด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน และประเภทแบคทีเรียก่อโรค หากสัตว์เลี้ยงตัวไหนผ่านการเลี้ยงดูอย่างดีส่วนมากจุลินทรีย์ด้านบวกย่อมมีมากกว่า
รูปแบบการทำงานของโพรไบโอติกในสัตว์เลี้ยง
ลองสมมุติตัวอย่างของคนเราง่าย ๆ หากปริมาณโพรไบโอติกในร่างกายลดน้อยลง สิ่งที่พบเจอคือปัญหาเรื่องระบบการขับถ่าย มักมีอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ท้องเสีย ภาวะกรดในกระเพาะมีมากผิดปกติ หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่อักเสบ วิธีแก้เบื้องต้นจึงต้องทานโยเกิร์ต กิมจิ หรือแม้แต่ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ให้เยอะขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่อาจเกิดได้
การทำงานของโพรไบโอติกกับมนุษย์จัดว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางที่ทุกฝ่ายเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด มนุษย์ได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วย ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานดี ขณะที่ตัวแบคทีเรียดีจำพวกนี้ก็สามารถกินอาหารและมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
คราวนี้เมื่อเปลี่ยนมาศึกษาเรื่องจุลินทรีย์ดีในลำไส้ของสัตว์เลี้ยง (มีการศึกษาจากสุนัข) กลุ่มตัวอย่างคือสุนัขที่สุขภาพแข็งแรงและสุนัขเป็นโรค ผลปรากฏการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ระหว่าง 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน
ถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่ายตามการวิจัยคือ สุนัขที่ป่วยด้วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบเรื้อรัง ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส โรคมะเร็ง สุนัขอ้วนมากกว่าปกติ เทียบกับสุนัขที่มีความแข็งแรง ปริมาณแบคทีเรียดีที่อยู่ในลำไส้ก็มีจำนวนแตกต่างกันตามด้วย
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านอกจากการที่คนเราจะเลือกทาน หรืออาหารที่มีโพรไบโอติกในปริมาณเหมาะสมแล้ว สัตว์เลี้ยงก็ควรได้รับจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวไม่ต่างกัน นั่นส่งผลให้ปัจจุบันกำลังเกิดข้อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเยอะมาก ในอนาคตเชื่อว่าหากสัตว์มีปริมาณโพรไบโอติกที่มากพอ พวกมันย่อมมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของตนเอง และยังเพิ่มการทำงานให้กับระบบย่อยอาหารด้วย
ผลการทดลองเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและโพรไบโอติกที่น่าสนใจ
เพื่อบ่งบอกว่าจุลินทรีย์ดีตัวนี้มาความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงไม่แพ้คนเรา จึงขอนำเอาผลการทดลองที่น่าสนใจมาบอกต่อ ปกติแล้วโพรไบโอติก กับพรีไบโอติกจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเจ้าตัวพรีไบโอติกนี้มักอยู่ในอาหารบางประเภท เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เมื่อคนหรือสัตว์กินเข้าไปจะไม่สามารถย่อยสลายด้วยตนเอง หรือผ่านการดูดซึมของลำไส้เล็กได้ นั่นเป็นเหตุผลที่พวกมันมักเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่แล้วจึงถูกย่อยสลายด้วยโพรไบโอติก ซึ่งอธิบายให้ชัดพรีไบโอติกคืออาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง
ซึ่งตามการทดลองได้มีการนำเอาลูกสุนัข 2 กลุ่ม แยกออกจากกัน กลุ่มแรกจะได้รับน้ำตาลกลุ่ม FOS หรือ Fructooligosaccharides ประมาณ 1% (เป็นน้ำตาลที่อยู่ในพรีไบโอติกประเภท oligosaccharides (โอลิโกแซ็กคาไรด์) ไม่สามารถย่อยด้วยเอนไซม์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้) มันจึงต้องผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่โดยตรงเข้าสู่กระบวนการหมักเพื่อสร้างสาร Antioxidant ก่อนกลายเป็นกรดไขมันชนิดสั้น อาทิ กรดแล็คติค บิวทิเรต กรดอะซิติค โดยพวกมันจะพึ่งพาอาศัยเพื่อสร้างการเติบโตและสุขภาพที่ดี
ขณะที่ลูกสุนัขอีกกลุ่มจะไม่ได้รับสารจำพวกนี้เข้าสู่ร่างกายเลย เมื่อการทดลองผ่านมา 2 สัปดาห์ จะมีการให้ลูกสุนัข 2 กลุ่มกินอาหารที่มีแบคทีเรียก่อโรค ผลการทดลองที่ได้คือ กลุ่มลูกสุนัขที่กินน้ำตาล FOS ติดเชื้อน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินเลย อีกทั้งการทดลองดังกล่าวยังเคยทดลองกับหนูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ใกล้เคียงกันนั่นคือ หนูที่ได้กินน้ำตาล FOS จะเกิดผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่าจากแบคทีเรียก่อโรคน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้กิน
ไม่ใช่แค่การทดลองตัวนี้เท่านั้นแต่ยังมีความน่าสนใจของงานชิ้นอื่น ๆ เกี่ยวกับผลลัพธ์ของสุนัขที่ได้รับสาร FOS ยังทำให้จุลินทรีย์กลุ่มย่อยคาร์โบไฮเดรตในร่างกายของพวกมันมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทดแทนปัญหาที่ปกติแล้วสุนัขมักกินอาหารที่มีโปรตีนสูงจนมีของเสียอยู่เยอะ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เวลาอุจจาระออกมาแล้วเป็นก้อนดีขึ้น กลิ่นเหม็นน้อยลง และยังสามารถดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียมกับแมกนีเซียมที่อยู่ในอาหารได้ดีกว่าเดิมด้วย
จากข้อสรุปต่าง ๆ ที่อธิบายมาจึงกล้ายืนยันได้แบบเต็มร้อยว่าไม่ใช่แค่คนที่ต้องการโพรไบโอติกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบ ท้องร่วงแบบเฉียบพลัน หรือต้องการเพิ่มสาร Antioxidant เท่านั้น แต่สัตว์เองก็มีความต้องการดังกล่าวเพื่อช่วยสร้างสุขภาพที่ดีให้กับตนเองไม่แพ้กันด้วย
จะเป็นอย่างไรหากสัตว์ได้รับโพรไบโอติกที่เพียงพอ
สำหรับคนที่เลี้ยงสัตว์ไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตาม การให้พวกเขากินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบถ้วนย่อมส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงและอยู่กับคุณไปอีกนาน และถ้าอาหารดังกล่าวมีปริมาณโพรไบโอติกเพียงพอด้วยแล้วผลลัพธ์ ที่จะเกิดขึ้นมีดังนี้
- กระตุ้นภูมิคุ้มกันและปกป้องการเสื่อมสลายของเซลล์ สร้างสาร Antioxidant เพื่อจัดการกับอนุมูลอิสระ
- เมื่อปริมาณอนุมูลอิสระลดน้อยลงสิ่งที่ตามมาคือสัตว์เลี้ยงมักอารมณ์ดี ในทางตรงข้ามหาเขามีสารดังกล่าวเยอะเกินก็มักอยู่ในภาวะซึม
- ลดการสร้างภาวะความเครียดให้กับสัตว์
- ยืดอายุของสัตว์เลี้ยงให้อยู่ได้ยาวนานมากขึ้น เพราะสาร Antioxidant มีส่วนสำคัญมากในการยับยั้งไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลาย DNA ของสัตว์เหล่านี้
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติกในสัตว์
1. ย้ำว่าสัตว์เลี้ยงก็ต้องเพิ่มปริมาณโพรไบโอติกในร่างกายของพวกเขาเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันก็มี และอาหารสัตว์ที่เข้าใจในเรื่องนี้พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกวางขาย
2. สัตว์เลี้ยงไม่สามารถให้กิน ประเภทโพรไบโอติกแบบเดียวกับคนได้ เนื่องจากโครงสร้างลำไส้แตกต่างกัน ปริมาณแบคทีเรียดีที่ร่างกายต้องการก็ต่างตามไปด้วย ดังนั้นหากให้สัตว์กินเยอะเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของปอดและอวัยวะอื่น ๆ ตามมา
3. ในกรณีที่พบว่าสัตว์เลี้ยงของคุณท้องเสีย ถ่ายเหลว อาจด้วยสาเหตุท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือได้รับแบคทีเรียก่อโรคใด ๆ ก็ตาม การให้กินโพรไบโอติกทันทีไม่สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้ เหตุเพราะผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมาให้สัตว์กินจัดอยู่ในกลุ่ม ไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถรักษาได้แบบเร่งด่วน
นี่คือข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโพรไบโอติกและสัตว์เลี้ยง จะเห็นว่าการทำงานของร่างกายระหว่างเซลล์กับจุลินทรีย์ดีในสัตว์มีทั้งทำงานสัมพันธ์ร่วมกันและทำงานแยกออกจากกัน จึงสรุปได้ชัดถึงความสำคัญสำหรับแบคทีเรียดีดังกล่าว ไม่ใช่แค่คนที่ต้องการเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่สัตว์เลี้ยงก็คาดหวังไม่ต่างเลยด้วยซ้ำ การเริ่มต้นดูแลตนเองและเพื่อนรัก 4 ขา ไปพร้อมกันทำได้ไม่ยากแค่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนและสัตว์
สนใจสั่งซื้อ จาก Winona Probio
หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ Probiotic
เพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-821-5501
LINE@ : https://page.line.me/khq1649x?oat__id=2226228&openQrModal=true
Facebook : https://www.facebook.com/WinonaProbio
Youtube : https://www.youtube.com/@bywinonaprobiotics2569
E-mail : info@winonafeminine.com
Website : https://winonaprobio.com/