จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลงการมีบ้านคือความฝันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งบางคนต้องใช้เวลาเก็บหอมรอมริบเงินมาเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อที่จะได้มีบ้านเป็นของตนเอง ดังนั้นทำให้ต้องให้ความใส่ใจในการคัดสรรด้วยเหตุผลและปัจจัยที่ทำให้คุณได้บ้านที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด หลายคนยังไม่ทราบว่าจะต้องเริ่มจากจุดไหน จะซื้อบ้านได้ราคาประมาณเท่าไหร่ และควรจะเตรียมตัวอย่างไร แต่สำหรับใครที่ไม่รู้ว่า ควรจะประเมินการซื้อบ้านจากปัจจัยใด แนะนำให้ลองหยิบไอเดียทั้งหมดในบทความนี้นำไปประยุกต์ใช้ดูก็ได้นะคะ ว่าแต่จะต้องมีข้อมูลใดบ้างที่ควรเตรียมไว้แต่เนิ่น ๆ เรามาดูกันเลย
1.เลือกซื้อบ้านจากงบประมาณ
เรื่องงบประมาณถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คนเราใช้เพื่อตัดสินใจเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมในเรื่องงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะช่วยทำให้คุณสามารถคำนวณเงินที่จะสามารถใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างเหมาะสมและไม่เกินตัวจนเกินไป ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
วิธีที่ 1 : ประเมินตนเองเรื่องค่าใช้จ่ายต่อเดือน
ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันช่วงก่อนซื้อบ้านหรือเป็นค่าใช้จ่ายที่ควรรู้ทั้งหมด เช่น ค่าผ่อนชำระ ค่าธรรมเนียม ค่าส่วนกลาง ฯลฯ โดยจะต้องประมาณการออกมาเป็นตัวเลขว่า ในแต่ละเดือนคุณจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะถ้าหากขาดเหลือมากจนเกินไป อาจจะต้องเก็บเงินเพิ่มขึ้น หรือลดราคาบ้านที่จะซื้อให้ถูกลง
วิธีที่ 2 : ประเมินตนเองเรื่องรายได้
นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ธนาคารใช้ในการพิจารณาความสามารถด้านการกู้สินเชื่อ ถ้าหากคุณประมาณรายได้ของตนเองมาอย่างรอบคอบว่าจะสามารถกู้ซื้อ ได้ช่วงราคาที่เท่าไหร่ก็จะทำให้การกู้ซื้อผ่านกับทางธนาคารผ่านได้ง่ายขึ้น โดยสัดส่วนที่เหมาะสมของภาระหนี้ทั้งหมด รวมถึงภาระหนี้สำหรับการกู้บ้านจะต้องไม่เกิน 30% – 40% ของรายได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อในราคา 2 ล้านบาท คุณก็จะต้องผ่อนชำระเดือนละประมาณ 14,000 บาท
แต่ถ้าหากคุณมีเงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาทการกู้ซื้อในราคา 2 ล้านบาทจะทำให้คุณมีภาระหนี้ในการผ่อนชำระเกินกว่า 40% ของจำนวนรายได้ จึงควรลดราคาบ้านที่ต้องการซื้อให้ต่ำกว่านี้ หรือหาวิธีการสร้างรายได้เพิ่มเติมและขยันเก็บเงินให้มากขึ้น เป็นต้น
วิธีที่ 3: ประเมินแผนการเก็บเงิน
หากคุณเลือกใช้วิธีการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านในฝัน คุณควรที่จะเริ่มประเมินแผนการออมเงินของคุณดูได้แล้วว่า เหมาะสมกับเป้าหมายที่เป็นสินทรัพย์ชิ้นใหญ่แบบนี้หรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันคุณมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วคุณจะมีเงินเก็บอยู่ที่เดือนละ 10,000 บาท คุณตั้งเป้าหมายที่จะซื้อบ้านในราคา 5 ล้านบาท แต่คุณเลือกใช้วิธีการออมเงินด้วยการฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนปีละ 2% นั่นเท่ากับว่า คุณจะต้องออมเงินเป็นเวลากว่า 40 ปีกว่าจะได้บ้านมาครอบครอง
สรุปแล้วสิ่งที่ควรประเมินก่อนการซื้อบ้านคือ ความต้องการที่จะช่วยกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ในการเลือกซื้อของคุณเอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีความรอบคอบในการตัดสินใจ และมีเหตุผลที่สนับสนุนให้คุณตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้นเพื่อที่จะได้บ้านที่ตรงใจและสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายค่าผ่อนชำระหลักหมื่น แต่ก็ยังมีสภาพคล่องทางการเงินที่สูงอยู่ได้นั่นเองค่ะ