จากกฏหมายคุ้มครองนโยบายความเป็นส่วนตัว ทางเว็บไซต์ www.cosmenet.in.th ขออนุญาตเก็บ ข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการให้บริการทางเว็บไซต์ ท่านสามารถอัปเดตข้อมูลส่วนตัว และทำความเข้าใจก่อนการยินยอมได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตกลง“ธุรกิจค้าส่ง” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งของร้านและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ไม่ได้มีการแข่งขันสูงเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจใกล้เคียงกันอย่างการค้าปลีก อีกทั้งยังเป็นธุรกิจหนึ่งที่สามารถทำกำไรระยะยาวได้ดี มีปัจจัยส่งเสริมหลายอย่างและมีการเติบโตอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความหลากหลายของประเภทธุรกิจค้าส่ง หรือ การปรับตัวของผู้ค้าส่ง เป็นต้น
ประเภทของธุรกิจค้าส่งที่หลากหลาย
ในธุรกิจค้าส่งนั้นมีประเภทของการค้าส่งที่หลากหลายมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของผู้ค้าส่งและรูปแบบการให้บริการดังนี้
ร้านค้าส่ง ( Merchant Wholesalers )
ร้านค้าส่งเป็นผู้ค้าที่ครอบครองงกรรมสิทธิ์ในสินค้า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- การค้าส่งที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ( Full Service Wholesaler ) เป็นรูปแบบธุรกิจค้าส่งที่ให้บริการและจำหน่ายสินค้าในหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น สินค้าทั่วไป สินค้าในสายผลิตภัณฑ์เดียว ( Single Line ) และสินค้าเฉพาะอย่าง ( Specialty )
- การค้าส่งที่ให้บริการจำกัด ( Limit Service Wholesalers ) เป็นรูปแบบธุรกิจค้าส่งที่ให้บริการและจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าเพียงแค่บางอย่างตามความสามารถและความชำนาญ เช่น
- ร้านค้าส่งที่ขายสินค้าเป็นเงินสดและให้ลูกค้าขนไปเอง ( Cash and Carry Wholesalers )
- ธุรกิจค้าส่งที่รับคำสั่งซื้อ แล้วจัดส่งให้ลูกค้า ( Drop Shippers )
- ขายและจัดส่งสินค้าแบบค้าส่ง เฉพาะสายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้ลูกค้า ( Wagon Wholesalers )
- ผู้ค้าส่งที่ขายสินค้า โดยการส่งแค็ตตาล็อกไปให้ลูกค้า แล้วจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ เมื่อมีคำสั่งซื้อ
( Mail Order Wholesalers )
นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent )
เป็นผู้ค้าส่งที่ไม่ครอบครองกรรมสิทธิ์ในสินค้า แต่จะเป็นคนกลางทำหน้าที่ติดต่อให้เกิดการซื้อขายได้ โดยรับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า ( Commission ) ซึ่งทั้งสองมีข้อแตกต่างกันอยู่ ดังนี้
- นายหน้า ( Broker ) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่นำผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันและเจรจาให้เกิดการซื้อขาย
- ตัวแทน ( Agent ) เป็นคนกลางที่รับสินค้ามาจากผู้ผลิตโดยตรง แล้วนำมาจำหน่ายให้กับลูกค้าอีก
หนึ่งทอด
สาขาและสำนักงานขายของผู้ผลิต ( Manufacturer’s Sales Branches and Offices )
เป็นหน่วยงานที่ผู้ผลิตจัดตั้งขึ้นเอง เพราะต้องการที่จะผลิตสินค้าแล้วจัดจำหน่ายเอง ซึ่งอาจมาในรูปแบบ ดังนี้
- ตัวแทนผู้ผลิต ( Manufacturer’s Agent )
- ตัวแทนขาย ( Selling Agents )
- ตัวแทนซื้อ ( Purchasing Agents )
- สำนักงานจัดซื้อ ( Purchasing Offices )
การปรับตัวของธุรกิจค้าส่ง
ในภาพรวมของธุรกิจค้าส่งมีการเติบโตช้าในบางช่วง เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการเข้ามาของธุรกิจค้าขายรูปแบบใหม่ ( Modern Trade ) ที่เข้ามาแบ่งพื้นที่ทางการตลาดของร้านค้าส่ง ทำให้ผู้ค้าส่งต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น
ลดปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ
ปัจจุบันผู้ประกอบการค้าส่งหลายที่ได้มีปรับรูปแบบการขายให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากร้านค้าปลีกมีความสามารถในการขายสินค้ามากกว่าร้านค้าส่ง เพราะขายในจำนวนน้อยหรือในปริมาณที่เหมาะสำหรับการบริโภคแค่ไม่กี่คน ต่างจากการค้าส่งที่เน้นขายในปริมาณมาก ๆ ดังนั้นการปรับลดการสั่งซื้อขั้นต่ำของร้านค้าส่ง นอกจากจะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปได้กว้างขึ้นแล้ว ยังช่วยลดลำดับการสั่งซื้อจากพ่อค้าคนกลางได้อีกด้วย
เพิ่มรายการสินค้าหลากหลาย
บางร้านค้าส่งได้มีการเพิ่มรายการสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเพิ่มมากขึ้น หรือมีการนำสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการในกลุ่มลูกค้ามากขาย เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าของธุรกิจค้าส่งเอาไว้ และยังสามารถเรียกลูกค้าใหม่มาเพิ่มได้อีกด้วย
เพิ่มช่องทางการสั่งซื้อสินค้า
การเข้ามาของ E-Commerce ส่งผลให้ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับบริบทและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค รวมไปถึงธุรกิจค้าส่งที่ได้เพิ่มช่องทางการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชั่น
“AEC TRADE CENTER-PANTIP WHOLESALE DESTINATION” ศูนย์ค้าส่งรูปแบบใหม่ ใหญ่ที่สุดใจกลางกรุงเมือง เป็นธุรกิจค้าส่งครบวงจรแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ทั้งสินค้าที่หลากหลาย สถานที่และการให้บริการเช่าพื้นที่ในห้างที่ราคาคุ้มค่า ไม่แพงอย่างที่คิด พร้อมผู้ช่วยที่จะคอยดูแลผู้ประกอบการและเจ้าของร้านค้าส่งทุกท่านอย่างเต็มที่