ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริง
ทริคความงาม

เช็คด่วน 8 อาการ! คุณเข้าข่ายเสี่ยงต่อหัวใจวายเฉียบพลันหรือเปล่า?

2,801
15 พ.ย. 2560

เช็คอาการที่เสี่ยงต่อหัวใจวาย

ทำไมต้องอ่าน...
  • คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายอยู่รู้ตัวไหม?
  • สถิติปี พ.ศ.2556 บอกว่าคนไทยหัวใจวายตายปีละ 150 คน เฉลี่ย 6 คนใน 1 ชั่วโมง
  • คนที่เสียชีวิตจากหัวใจวาย มักเป็นคนที่ไม่รู้ตัวเองมาก่อน อยู่ ๆ ก็ไปเลย
  • คุณคือคนที่กินเพื่ออยู่และไม่ค่อยออกกำลังกาย ใช่หรือไหม?

     "เรื่องของหัวใจต้องหมั่นดูแล" อย่าคิดว่าตัวเองยังหนุ่มยังสาวแล้วหัวใจจะแข็งแรงเสมอไป เพราะคนที่หัวใจวายเฉียบพลัน (กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน) อยู่ ๆ หัวใจก็หยุดเต้นกระทันหันหลายคนยังไม่แก่กันเลยนะ! บางคนก็เป็นนักกีฬาด้วยซ้ำ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีดราม่าในพันทิปที่มีคนวิ่งอยู่แล้วมีคนสั่งให้หยุดกะทันหันตอนที่เพลงชาติขึ้น แบบนี้ก็เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้เหมือนกัน เพราะอะไร? มาระวังกันไว้ดีกว่าไหม?  

โปรดเช็ค list อาการเหล่านี้ด่วน

  1. เหนื่อยง่ายไหม? : อาการเหนื่อยง่ายเกิดจากหลายสาเหตุก็จริงอยู่ แต่ก็เป็นอาการสำคัญของโรคหัวใจด้วยนะ แต่อาการเหนื่อยง่ายของโรคหัวใจจะมีอาการเหนื่อยแบบหายใจเร็ว หอบ อาจถึงขั้นพูดไม่ได้เลยด้วย ลองสังเกตดูว่ามีเสียงดังเวลาหายใจด้วยไหม ถ้าเหนื่อยง่ายอย่างน่าสงสัยบ่อย ๆ คงต้องรีบไปตรวจ

  2. เจ็บหน้าอกจุก ๆ แน่น ๆ : อาการเจ็บหน้าอกจุก ๆ แน่น ๆ หลายคนสับสนกับกรดไหลย้อน เพราะมันจะมีแน่นและร้าวไปถึงแขนได้ด้วย อาการจะจุก ๆ แน่น ๆ เหมือนโดนกดทับหน้าอก ก็ต้องลองสังเกตดู

  3. ใจสั่นบ่อย : หัวใจจะเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นเร็ว ใจสั่น อาจมีเหนื่อยหอบจะเป็นลมด้วย

  4. ขาบวม : เมื่อการสูบฉีดเลือดทำได้ไม่ดี ก็จะไปคั่งที่บริเวณขา ทำให้ขาบวมผิดปกติ 

  5. วูบ หน้ามืด เป็นลมบ่อย : เป็นไปได้ว่าหัวใจหยุดเต้นจึงทำให้หมดสติชั่วคราว

  6. เมื่อนอนหงายจะหายใจลำบาก : เมื่อไหร่ที่นอนราบ นอนหงาย เคยหายใจลำบากไหม จะแน่น ๆ หายใจไม่ปกติ

  7. ตื่นกลางดึกเพราะหายใจลำบากหรือไอ : เคยเป็นไหม? เป็นบ่อยหรือเปล่า? ที่ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะต้องการไอ หรือหายใจอึดอัด

  8. เข้าห้องน้ำกลางคืนบ่อย : หากเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยแล้วมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยก็คงต้องพบแพทย์แล้วแหละ


ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว

  1. โรคเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ เช่น หัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
  2. ติดเชื่้อโรคต่าง ๆ
  3. ภาวะโลหิตจาง
  4. ไทรอยด์เป็นพิษ
  5. ความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน
  6. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอด


แนวทางรักษาและวิธีการปฏิบัติตัวเอง

  1. ตรวจสุขภาพประจำทุกปี
  2. รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  3. รักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  4. รักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ
  5. ควบคุมน้ำหนัก
  6. เลิกบุหรี่สำหรับคนที่ติดบุหรี่คงต้องเลิกให้เด็ดขาด
  7. รับประทานอาหารพวกผักผลไม้ให้มากและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  8. งดอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หรือหวานจัด
  9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 5-4 วัน หรือวันเว้นวัน

     ออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด โดยอาจจะเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เพื่อวอร์มร่างกาย แล้วเริ่มเดินไปช้า ๆ บนพื้นราบประมาณ 2-5 นาที ก่อนจะค่อยๆเร็วขึ้นแค่พอเหนื่อยแล้วก็ช้าลงจนหยุดเดิน กลับไปยืดกล้ามเนื้ออีกครั้งเพื่อชะลอการเต้นของหัวใจ มา!! เริ่มกันวันนี้เลยดีกว่า เพื่อไม่ให้หัวใจวาย เดี๋ยวคนที่รักเราจะหัวใจวายตายตามไปด้วย ต้องมาดูแลตัวเองกันบ้าง ให้ดีต่อใจ


เรื่องที่ต้องรู้(เพิ่ม)...
  • ในกรณีที่คนใกล้ตัวมีอาการหัวใจวายฉุกเฉิน และไม่รู้วิธีรักษาเบื้องต้น ให้รีบโทรสายด่วน 1669 ทันที
  • 4 โรคเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจมากที่สุด ณ ทุกวันนี้คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และความอ้วน
  • เมื่อไหร่ที่รู้สึกเหนื่อย นั่งพักก็ยังไม่ดีขึ้น นั่นคือสัญญาณว่าควรพบแพทย์ได้แล้ว
  • คนที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรออกกำลังกายในอากาศร้อน หรือคนที่ไม่มีโรคแต่ร่างกายอ่อนเพลีย เป็นหวัด พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ไม่ควรทำเช่นกัน
  • ไม่ควรออกกำลังกายหลังอาหารในทันที ควรพักก่อนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง



What's new
ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริงแนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันKMA มอบโมเมนต์กลิ่นหอมแห่งความสุข ผ่านของขวัญสุดพิเศษมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 256813 ครีมลดริ้วรอย ยี่ห้อไหนดี เพื่อใบหน้าอ่อนเยาว์ผิวเฟิร์มกระชับ10 เซรั่มลดจุดด่างดำ ปี 2024 ลดเลือนฝ้า กระ พร้อมลดรอยดำจากสิวแบบเร่งด่วน!ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 17 - 23 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ MELAMII ANTI-MELASMA Perfect White Serum And Spot Corrector จบลูปฝ้าซ้ำซาก จำนวน 100 รางวัล
COMMENTS
1 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ข้อมูลเป็นประโยชน์มากค่ะ แต่ขอเสริมอะไรนิดหน่อยนะคะ อาการเจ็บแน่นที่หน้าอกในกรณีหัวใจขาดเลือดถ้าเทียบง่ายๆคือเจ็บแน่นเหมือนโดนเท้าช้างเหยียบค่ะ แล้วจะไม่หายได้เองโดยมักมีอาการร่วมกับหมดแรง มือเย็น เท้าเย็น หน้ามืด หมดสติได้ ส่วนการเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนบ่อยไม่ได้บ่งบอกถึงโรคหัวใจแต่บ่งบอกถึงโรคเบาหวานซะมากกว่าค่ะ ถ้ามีฉี่บ่อยตอนกลางคืน ใจสั่งและ/หรือมือสั่น หรือมีหน้ามืดตอนท้องว่าง กระหายน้ำมากผิดปกติ และมีน้ำหนักลดร่วมด้วยก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายดูนะคะเพราะอาจเป็นเบาหวานได้ค่ะ   และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือประชาชนทั่วไปควรมีความรู้ในการทำ CPR นะคะเพราะเป็นประโยชน์มากในปัจจุบัน ถ้ามีคนหมดสติ ไม่มีชีพจรต่อหน้าเราก็จะได้ช่วยได้ทันค่ะ
16 พ.ย. 2560 เวลา 14:04 น.