“โคเอนไซนไซม์ คิวเทน” coenzyme q10 หรือ “โคคิวเทน” ที่เราอาจเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ทั้งจากโฆษณาอาหารเสริม จากเครื่องดื่มบางประเภท และตามตู้แช่ในร้านสะดวกซื้อคืออะไร บางคนก็รู้จริง แต่บางคนก็แทบไม่ได้สนใจจึงไม่เคยได้รู้มาก่อนเลยค่ะว่า Q10 คืออะไร และมีผลอย่างไรต่อร่างกาย
โค คิวเทน คือ
สารที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้และมีความจำเป็นต่อร่างกาย พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย หน้าที่หลักของ CoQ10 คือ ช่วยในการเร่งปฏิกิริยาภายในร่างกาย โดยตัวเอนไซม์เองไม่ถูกทำลาย หรือถูกเปลี่ยนแปลงเมื่อปฏิกิริยาดังกล่าวสิ้นสุดลง เนื่องจาก CoQ10 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อระดับของ CoQ10 มีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายค่ะ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
การที่ CoQ10 เป็นสารสำคัญในการสร้างพลังงาน การรับประทาน CoQ10 จึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย จากการศึกษาใน กลุ่มตัวอย่าง 6 คน โดยให้รับประทาน CoQ10 เป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดีขึ้นถึง 3-12% โดยวัดจากอัตราการเต้นของหัวใจ และประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจน
- ลดเลือนริ้วรอยได้ผล
มีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลของ CoQ10 ต่อการลดริ้วรอยมากมายว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง เช่นการศึกษาของGerson Unna พบว่าภายหลังที่กลุ่มทดลองได้รับ CoQ10 ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ริ้วรอยลดลงกว่า 27 % และเมื่อได้รับ CoQ10 ต่อไปเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ริ้วรอยลดลงกว่า 43%
จากการศึกษาพบว่า Q10 เป็นสารอาหารคล้ายวิตามิน ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในร่างกาย มีปฏิกิริยาทางชีวเคมี เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานในทุกเซลล์ของร่างกาย ถ้าระดับของ Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้เลย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้
นอกจากนี้ คิวเทน ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายอย่างเช่น
ช่วยในเรื่องของระบบหัวใจและหลอดเลือด แล้วยังถูกนำมาใช้ในการรักษามะเร็งอีกด้วย จากคุณสมบัติในการเพิ่มภูมิต้านทานและกำจัดอนุมูลอิสระ สำหรับ Q10 นอกจากสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายมนุษย์แล้ว ในสัตว์และพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งอุดมของ Q10 เช่นกัน มีในน้ำมันปลา ปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาดีน อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ส่วน หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์ รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง บรอคคอลี่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน เป็นต้น ดังนั้น หากเราไม่ได้รับประทานอาหารเสริมประเภทคิวเทน เรายังสามารถเลือกอาหารอย่างที่บอกมาช่วยเติมคิวเทนให้กับร่างกายได้อีกด้วยค่ะ
ขอขอบคุณภาพจาก : betaglucan.igetweb.com, atasteofbrazil.wordpress.com, akayakiniku.com,
health.howstuffworks.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : cosmenet.in.th