ทุกศาสนาล้วนมีบทสวด และทุกท่วงทำนองแห่งบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า เหล่านี้ล้วนทำให้สมองได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงซ้ำ ๆ สม่ำเสมอในช่วงเวลาที่หากนานประมาณ 15 นาทีขึ้นไป ก็จะเกิดผลอันเหลือเชื่อ เพราะเซลส์ประสาทของระบบประสาทสมองจะสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายชนิด
- หลั่งสาร “ซีโรโทนิน” ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยในเรื่องความจำ การเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น และยังเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทตัวอื่น
- “เมลาโทนิน” ที่ราวกับเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะ จะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลส์ประสาท และเซลส์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้นอนหลับ ทำให้สดชื่น ลดความดัน
- “อะเซทิลโคลีน” ช่วยเรื่องกระบวนการเรียนรู้และความจำ ปรับความสมดุลของน้ำ
แต่ละคำแต่ละเสียงไม่เพียงบอกความหมาย แต่การเยียวยา รักษา ไม่เหมือนกัน
เวลาเราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่นการวิจัยของฝรั่ง พบว่า
อักษร A B C D จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่าง ๆ ในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อย ๆ เข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น
ตัวอย่างคำในบทสวดที่มีผลต่อร่างกายของเราค่ะ
โอม …… กระตุ้นหน้าผาก
ยัม ……. กระตุ้นหัวใจ
ราม …….กระตุ้นลิ่นปี่
วัม ……. กระตุ้นสะดือ
ลัม ……. กระตุ้นก้นกบ เป็นต้น
คำที่ยกตัวอย่าง ดูเหมือนจะมาจากบทสวดของอินเดีย อย่างบทเพลงที่รู้จักกันดีในบางกลุ่ม คือบทเพลง “บาบานัม เควาลัม” ที่หมายถึงบทเพลงมนตราแห่งความรัก ซึ่งมีให้ฟังในเมืองไทยบ้าง เช่นบางโรงเรียนจะใช้เปิดให้เด็ก ๆ ฟังเพื่อเกิดสมาธิ ผ่อนคลาย และลดความก้าวร้าว
ยังมีข้อมูลอีกมากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการสวดมนต์เพื่อการเยียวยา ทั้งโรคภัยและจิตใจ ซึ่งนี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คนสมัยก่อนซึ่งสวดมนต์ก่อนนอนเป็นกิจวัตร และหมั่นเข้าวัดเข้าวาจึงก้าวร้าวน้อยกว่าคนสมัยปัจจุบัน อารมณ์เย็นกว่า และสุขภาพดีกว่าอีกด้วยค่ะ