Cr : saltsistersonline.com
เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ชอบพูดเตือนกันว่า "อย่ากินเค็มมาก ไม่ดี" "กินเค็มมากระวังโรคไต ความดัน นู่น นี่ นั่น" อะไรก็โทษความเค็มกันอย่างเดียว หวานก็ไม่ได้ เค็มก็ไม่ดี นั่นเพราะว่าคุณไม่จัดให้พอดีต่างหากล่ะคะ แล้วทราบไหมคะว่า "เกลือ" ให้คุณค่าทางอาหารที่สำคัญ ซึ่งควรต้องเติมเกลือลงไปในอาหารในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
สารเคมีสำคัญในเกลือคือโซเดียมคลอไรด์ โปรแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม เมื่อเรากินเกลือเข้าไปร่างกายจะดูดซึมโซเดียมไปช่วยให้ระดับน้ำในร่างกายปกติ นอกจากนี้ในเกลือทะเลยังมีไอโอดีน ที่ป้องกันโรคคอพอก และช่วยในเรื่องการพัฒนาการระหว่างตั้งครรภ์ เพราะเด็กที่คลอดออกมาอาจมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำเนื่องจากขาดไอโอดีนระหว่างอยู่ในครรภ์ จะทำให้ระดับอีคิวต่ำได้
เมื่อร่างกายขาด "เกลือ" จะเกิดอะไรขึ้น?
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- กล้ามเนื้อขาดเกลือ เราชะชักได้
- ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ถ้ากระเพาะขาดเกลือ เพราะเกลือไปช่วยสร้างกรดในน้ำย่อย
- ร่างกายไร้เรี่ยวแรง ถ้าขาดเกลือนานๆ (คนทีท้องเสีย หรือร่างกายอ่อนเพลีย ร่างกายขาดเกลือจึงต้องจิบน้ำเกลือ)
เคล็ดลับดีๆ ของ "เกลือ"
- ผมร่วง ให้ใช้น้ำเกลือล้างผมทุกวัน
- เมื่อท้องผูกให้ดื่มน้ำเกลือ 1 แก้ว ขณะท้องว่าง
- เหยาะเกลือน้อยๆ ใส่ในกาแฟจะช่วยให้กาแฟมีรสชาติดีขึ้น (ระวังอย่าใส่เยอะ ให้ใช้สองนิ้วหยิบเกลือน้อยๆ)
- เมื่อแน่นท้องหลังดื่มเหล้ากับทานกับแกล้มที่เป็นเนื้อมาก ให้ใช้เกลือแปรงฟัน บ้วนด้วยน้ำอุ่น 3-4 ครั้ง
- เลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือกอักเสบ ให้อมน้ำเกลือครั้งละนานๆ ทุกวัน
- นอกจากนี้เกลือยังมีคุณสมบัติเย็น ดับร้อน ทำให้เลือดเย็น ช่วยให้ระบาย และหยุดอาการอาเจียน
ข้อควรระวังในการบริโภค "เกลือ"
- ร่างกายต้องการเกลือต่ำกว่า 10 กรัม/วัน แต่ควรพอดีที่ปริมาณต่ำกว่า 5 กรัม/วัน
- คนเป็นความดันสูง ให้ทานเกลือต่ำกว่า 3 กรัม/วัน
ถึงร่างกายจะต้องการเกลือ แต่ก็ควรเติมเกลือในอาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะ ทานเค็มให้พอดี ไม่ต้องถึงกับงดรสเค็มไปเลย ลองคำนวณให้พอเหมาะพอดี ว่าเรากินเกลือมากหรือน้อยไปอย่างไร ใครที่เป็นโรคความดันสูงก็ควรต้องระวังกันให้มากเป็นพิเศษ ส่วนคนที่กลัวจนไม่ยอมกินเกลือ ร่างกายอาจอ่อนเพลียเพราะขาดเกลือก็ได้เหมือนกันค่ะ