เพิ่งจะมีข่าวที่ชาวสวนยางทางภาคใต้เปลี่ยนไร่ยางให้เป็นไร่มัลเบอร์รี่ และประสบความสำเร็จมาก เพราะเทรนด์สุขภาพมาแรง รสชาติของ มัลเบอร์รี่ หรือ ผลหม่อน ก็อร่อยไม่น้อยหน้าผลไม้ตระกูลเบอรี่ของนอกอื่นๆ ซึ่งจริงๆ บ้านเราก็ค้นพบไวน์ที่ทำจากผลหม่อนมาตั้งนานแล้วหลังจากที่ได้พันธุ์ผลจากการปลูกไว้เพื่อเลี้ยงตัวไหม
ผลหม่อน จะมีทั้งผลแดงและผลดำ สำหรับผลสีแดงลองชิมดูจะเปรี้ยวๆ หวานๆ ส่วนผลดำจะรสหวานฉ่ำจึงเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ที่เหนือกว่ารสชาติหวานๆเปรี้ยวนี้คือ สารแอนโทไซยานินส์ ที่จะมีอยู่ในผักผลไม้สีม่วงแดง
คุณค่าจากสาร แอนโทไซยานินส์ในมัลเบอร์รี่ หรือลูกหม่อน
- ล้างพิษ ล้างของเสียออกจากร่างกาย
- เป็นยาระบายอ่อนๆ
- ป้องกันผมหงอกก่อนวัย
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยเรื่องโรคโลหิตจาง
- ชะลอวัย ไม่แก่เร็วจากสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่สูงมาก
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เพราะช่วยทำลายอนุมูลอิสระ
- มีวิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด และมีวิตามินซีสูงมาก
- วิตามินบี 6 จำนวนมาก ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลมัลเบอร์รี่หลายอย่างให้เลือกกินหรือดื่มตามความชอบ อย่าง ไวน์มัลเบอร์รี่ น้ำมัลเบอร์รี่ ผลมัลเบอร์รี่อบแห้ง แยมมัลเบอร์รี่ และชาใบหม่อนหรือเรียกให้ดูสากลหน่อยก็คือชามัลเบอร์รี่ ใครถนัดแบบไหนลองไปหากันดู แต่สำหรับคนที่ชอบดื่มไวน์ ก็มีข่าวดีว่า ผลหม่อนของไทยเรานั้นเมื่อนำไปทำไวน์จะมีสารเรสเวอราโทรล (Resveratrol) มากกว่าไวน์แดงที่ทำจากองุ่นเป็นสิบเท่า ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดและโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสันด้วย แต่ควรดื่มวันละ 1-3 แก้วไม่เกินนี้ ไม่งั้นจะกลายเป็นลำยองที่เริ่มจากดื่มเพื่อสุขภาพแต่ในที่สุดก็กลายเป็นทำลายสุขภาพไปซะ ดังนั้น คนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพก็ต้องฉลาดกิน-ดื่มให้พอดี ไม่น้อยหรือมากจนเกินไปด้วยค่ะ