แต่ในที่สุดผ้าอนามัยก็กำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เพื่อให้สาวๆทุกคนได้สะอาดมั่นใจ และแห้งสบายในวันมามาก!
ต้นศตวรรษที่ 19 กับผ้าอนามัยแบบห่วง และซักได้
UK 1896 กับแบรนด์ผ้าอนามัยแรก Lister’s Towels
จอห์นสัน แอนด์ จอห์สัน คือผู้ผลิตผ้าอนามัยออกขายเป็นรายแรก ในชื่อ
Lister’s Towels ตั้งแต่ปี ค.ศ.
1896 แต่ปรากฎว่าสาวๆไม่กล้าซื้อด้วยชื่อของแบรนด์จะพ่วงท้ายด้วย “ผ้าอนามัยสำหรับคุณสุภาพสตรี (Sanitary for ladies) ที่กล่องและในการโฆษณา ดังนั้นในปี
1920 Lister’s Towels โฉมใหม่ในกล่องเรียบๆไม่โชว์ข้อความใดๆนอกจากชื่อแบรนด์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
“Nupak”
1919 Kotex มาแล้ว
ผ้าอนามัยโกเต็กที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ได้ปรากฎโฉมครั้งแรกในแมกกาซีน ของอเมริกา ในปีค.ศ.1921 และบอกว่าโกเต็กได้ผลิตผ้าอนามัยจากผ้าฝ้าย ออกมาจำหน่ายในหลายๆเมืองตั้งแต่ปี 1919 โดยได้ไอเดียจากผ้าซับเลือดทหารในสงครามที่ฝรั่งเศส
1928 Modess กับคูปอง (แอบ) ซื้อผ้าอนามัยในหน้าโฆษณา (silent purchase)
สาวๆในสมัยนั้นยังอายที่จะเอ่ยปากซื้อผ้าอนามัย ทางจอห์นสัน จึงคิดหาวิธีขายผ้าอนามัยให้ได้มากขึ้นด้วยการให้สาวๆตัดคูปองจากหน้าโฆษณาในนิตยสารมายื่นให้เซลส์ขายผ้าอนามัย แล้วจะได้รับกล่องผ้าอนามัยห่อกระดาษสีน้ำตาลมิดชิดกลับไปซึมซับส่วนตัวกันที่บ้าน
Modess กับโฆษณาสวย Copy เก๋
ช่วงนั้นจอห์นสันยังไม่หยุดยั้งความพยายามในการทำการตลาด และโฆษณาผ้าอนามัยโมเดสจึงระมัดระวังมากในการใช้ถ้อยคำร่วมกับภาพแฟชั่นสวยหรูเพื่อภาพลักษณ์ของผ้าอนามัย อย่างเช่น “Modess…Because” เรียกได้ว่าช่วงนั้นโฆษณาโมเดสก็เลยมีคำสวยๆเป็นที่จดจำออกมามากมาย
1970 กำเนิดผ้าอนามัยแถบกาว
Kotex คือเจ้าแรกที่ออกผ้าอนามัยแถบกาวขึ้นมาในปี 1970 ตามมาด้วย Stay free ในปี 1973 แต่ยังเป็นเส้นใยสำลีหรือใยฝ้ายอยู่
1980 ญี่ปุ่นค้นพบสารดูดซึมน้ำได้ดี
ผ้าอนามัยแผ่นบางไม่ต้องใช้ปุยฝ้ายจากสำลีจึงเกิดขึ้น แผ่นผ้าอนามัยจึงบางลง
1990 โดยประมาณ ผ้าอนามัยก็ติดปีก
ผ้าอนามัยยุคนี้เลิกใช้ผ้าใยเทียม หันมาใช้พลาสติกโพลิเอทธิลีน หรือพลาสติกโพลิโพรพิวลีน แทน ทำให้มีน้ำหนักเบา ทนความเย็น ทนความเป็นกรดด่าง ได้ดี เมื่อพลาสติกไม่ดูดซับความ เลือดประจำเดือนชื้นจึงไหลสู่ด้านล่างและไม่ไหลย้อนกลับนั่นเอง แต่กลับไม่รู้สึกสบายเหมือนผ้าใยเทียม ทำให้ผู้ผลิตต้องนำมาใช้ด้วยกันทั้งสองแบบ
1929 Tampax ผ้าอนามัยแบบสอด
คนอียิปต์สมัยก่อนจะใช้กระดาษปาปิรุสที่ทำจากต้นกกมาใช้ทำผ้าอนามัยแบบสอด ลำไหมล่ะนั่น! และเมื่อถึงปี 1929 ก็กำเนิด Tampax ผ้าอนามัยแบบสอดสมัยใหม่ขึ้นมา
ผ้าอนามัยแบบแนบ ไม่ค่อยเป็นที่นิยม
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีผ้าอนามัยที่ต้องใช้ร่วมกับผ้าอนามัยปกติออกมาให้เห็นกัน แม้จะไม่ได้รับความนิยมนัก แต่บางคนก็บอกว่า ใช้ดี เพราะจะแนบไปกับช่องคลอดของผู้หญิงเลย ก็เลยเรียกกันว่า ผ้าอนามัยแบบแนบ เพื่อการปกป้องที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในวันที่ห้ามเลอะโดยเด็ดขาด สำหรับผ้าอนามัยชนิดนี้ไม่แน่ใจว่ายังมีวางขายอยู่ในบ้านเราหรือเปล่า
ผ้าอนามัยแบบซักได้ กับการลดโลกร้อน!
เมื่อคนเราห่วงใยโลกใบนี้กันมากขึ้น ก็มีการผลิตผ้าอนามัยแบบซักได้ออกมาวางขาย เพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับสาวๆนักอนุรักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก สำหรับคนที่ขยันซักค่ะ ใครอยากลองหันมาเป็นนักอนุรักษ์ก็หามาใช้กันดูเลยค่ะ ลายน่ารักๆเยอะเลย
นอกจากวิวัฒนาการโดยหลักๆของผ้าอนามัยแล้ว ยังมีการผลิตผ้าอนามัยไอออนลบเพื่อการซึมซับที่ดีกว่า และผ้าอนามัยสมุนไพรช่วยลดอาการติดเชื้อออกมาด้วย แต่คงต้องตรวจสอบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้ดีกันด้วยนะคะสาวๆ เพราะจุดซ่อนเร้นเป็นส่วนสำคัญที่พวกเราต้องช่วยกันดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าไม่อยากให้น้องต้องติดเชื้อโรคแปลกๆค่ะ
ทิ้งท้ายไว้นิดนึงกับ...
วิธีใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้อง
- เปลี่ยนอย่างน้อย 2 ผืน / วัน หรือให้ดีคือทุก2-4ชั่วโมง เพื่อไม่ให้น้องน้อยอับชื้นจนเกินไป หรือบางครั้งอาจจะเกิดการติดเชื้อในช่องคลอดเพราะหมักหมม
- ผ้าอนามัยชนิดสอดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าลืมทิ้งไว้ในช่องคลอด อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเกิดกลุ่มอาการเป็นพิษ เนื่องจากได้รับสารพิษ (Toxin) จากเชื้อแบคทีเรียพวกสตาฟีโลคอคคัส (Staphylococcus spp.) ที่จะทำให้ ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (เรียกว่า ทอกซิค ชอคซินโดรม -Toxic Shock Syndrome)
- เมื่อใช้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น แพ้ คัน หรือ เกิดการระคายเคือง ควรเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น
- จำให้ขึ้นใจว่า เลือด คือ อาหารของ แบคทีเรีย หมักหมมมากไปไม่ดี อนุโลมเฉพาะเวลานอนที่ให้ใช้แบบของกลางคืนโดยเฉพาะ
- ผ้าอนามัยก็เหมือนสินค้าทั่วๆไป มีวันหมดอายุ ดูดีๆ จะได้ไม่ใช่ของเสื่อมคุณภาพกับจุดซ่อนเร้น
- อย่าเก็บผ้าอนามัยไว้ในที่ชื้นแฉะ ผ้าอนามัยคือกระดาษ สำลี ซึ่งเมื่อโดนน้ำก็จะชื้นได้ง่ายๆ และเมื่อชื้น ก็เป็นที่สะสมเชื้อโรคมากมาย ดังนั้น เก็บไว้ในที่แห้งเพื่อความสะอาด แถมสบายน้องด้วยนะ
อ้าว..แล้วที่มีแชร์ว่า เปลี่ยนผ้าอนามัยไม่บ่อยทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกนี่ตกลงอย่างไร
ที่หมดละ ไว้ต่อบทความหน้านะจ๊ะ (^w^)/