13 ครีมลดริ้วรอย ยี่ห้อไหนดี เพื่อใบหน้าอ่อนเยาว์ผิวเฟิร์มกระชับ
สาระน่ารู้

นอนไม่หลับทำไงดี? เลิกนับแกะแล้วมาหายใจ 4-7-8

2,860
27 ก.ย. 2561
นอนไม่หลับ ทำไงดี

    มีหลายสาเหตุที่ทำให้เรานอนไม่หลับ ทั้งความเครียด ความตื่นเต้น ตื่นตัว กังวล นอนผิดเวลา และสุขภาพกายที่ผิดปกติ หลายตำราบอกเราว่า นอนไม่หลับให้นับแกะ เชื่อว่าหลายคนลองมาหมดแล้ว ทั้งนับแกะ อ่านหนังสือที่น่าเบื่อ หรือเปิดดนตรีประเภทคลื่นเสียงที่ทำให้จิตสงบ ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจเกิดผล หากสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นคือความเครียดและการนอนผิดเวลา แต่ในกรณีที่เราเจ็บป่วย หรือมีเรื่องรบกวนใจที่ทำให้หยุดคิดไม่ได้ เมื่อไม่หยุด เมื่อไม่หายเจ็บ ก็หลับยาก โดยส่วนมากจะไปหลับเอาช่วงใกล้เช้า เกิดปัญหาตื่นไปทำงานกันไม่ไหวอีก

การหายใจแบบ 4-7-8 คืออะไร?

นอนไม่หลับ ทำไงดี

    จริง ๆ แล้วเรื่องที่เอามาบอก ก็มีการเผยแพร่กันไปมากมายในช่วงไม่กี่ปีมานี้เพราะเป็นสูตรนอนหลับแบบโบราณ มาจากอินเดีย เป็นรากฐานการหายใจแบบปราณยามะ ตอนหลังก็ได้รับคำแนะนำโดย ดร.แอนดรูว์ วีล (Dr.Andrew Weil) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จบจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ผู้สนใจศาสตร์สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic — Health) คุณหมอแนะนำเรื่องการหายใจแบบ 4-7-8 เอาไว้ว่าจะช่วยให้หลับสบาย เพราะเป็นการหายใจแบบผ่อนคลาย เป็นเทคนิคคล้ายกับโยคะ คุณหมอเรียกว่าหายใจแบบ 4-7-8 (ซึ่งจริง ๆ การฝึกหายใจแบบโยคะก็มีแบบอื่น ๆ อีกด้วย)

    ที่แชร์ต่อกันมาว่า หายใจแบบ 4-7-8 สามรอบก็หลับแล้วนั้น ผู้ฝึกโยคะบอกว่าจริง ๆ แล้วต้องสัก 10 รอบ และเขาก็ฝึกกันมานานเป็นปีสำหรับคนฝึกโยคะ แล้วจะให้ได้ผลที่ดีก็ควรฝึกโยคะด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ได้เป็นวิธีที่จะการันตีว่าหลับแน่นอนภายใน 1 นาที อะไรแบบนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะเห็นผลมากน้อยแค่ไหน

แต่สำหรับใครที่มีหรือไม่มีปัญหาเรื่องการนอนก็ควรฝึกเอาไว้ เพราะนอกจากจะได้ผลในเรื่องของการนอนหลับแล้ว ยังได้ผลในเรื่องการใช้ชีวิตในแต่ละวันอีกด้วย เพราะวิธีการหายใจ 4-7-8 คือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง จิตสงบเป็นสมาธิ ก็จะเกิด “สติ” ได้ง่าย เมื่อสติมา ปัญญาก็เกิดไงเนอะ

เอาเป็นว่าถ้าไม่หลับสักทีมาฝึกหายใจ 4-7-8 กัน

    สำหรับคนที่ไม่ได้มีปัญหานอนไม่หลับฝึกไว้ก่อนก็ดีนะ หากเกิดอาการนอนไม่หลับจะได้ไม่ต้องมาเปิดตำราฝึก อ้าวเครียดอีก ยิ่งไม่หลับไปกันใหญ่

    4-7-8 คือสัดส่วนความยาวนานของการหายใจเข้า - หยุด (เก็บลมหายใจไว้ก่อน) - หายใจออก
** โดยในระว่างขั้นตอนการหายใจ จะต้องแตะปลายลิ้นขึ้นบนเพดานเหนือฟัน โดยลิ้นของเราจะต้องแตะอยู่ตรงนั้นตลอดการหายใจนะคะ ท่าพร้อมแล้ว ก็เริ่มกันเลยค่ะ

Step 1 : ผ่อนลมหายใจผ่านปากให้เสียงดัง ฟู่

วิธีหายใจ 4-7-8

Step 2 : ปิดริมฝีปากแล้วหายใจเข้า เมื่อเราหายใจเข้าก็ค่อย ๆ นับ 1-4 ช้า ๆ


วิธีหายใจ 4-7-8

Step 3 : เก็บลมหายใจเอาไว้ในปอด นับ 1-7


วิธีหายใจ 4-7-8

Step 4 : ปล่อยลมหายใจออกไปทางปากให้มีเสียงดัง ฟู่ ยาวจนนับครบ 1-8


วิธีหายใจ 4-7-8

Step 5 : หายใจเข้าไปใหม่ และเริ่มขั้นตอนที่ 1-4 อีกครั้ง


    ผู้ฝึกโยคะแนะนำว่าสำหรับการหายใจแบบโยคะให้ทำวนไปประมาณ 10 รอบ จึงจะหลับ แต่คุณหมอวีลบอกมาแค่สามรอบก็พอ ก็ต้องลองทำดูว่าเราจะหลับในรอบไหนเนอะ (แต่อย่าเผลอถึงขั้นนับรอบละ ทำใจให้สบาย ๆ ผ่อนคลายจะดีกว่านะ) จากประสบการณ์ของหลาย ๆ คน การหายใจแบบโยคะ ซึ่งนอกจากแบบ 4-7-8 ก็ยังมีแบบอื่น ๆ อีกไม่เพียงช่วยในเรื่องการนอนหลับ แต่ช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายได้ด้วย

ทำไมการหายใจถึงมีผลต่อร่างกายได้ขนาดนั้นล่ะ?

    ลมหายใจคือสัญญาณชีวิตแน่นอนหละ ใน 1 นาทีนั้น คนเราจะหายใจประมาณ 15 ครั้ง แล้วเราแค่หายใจทิ้งไปวัน ๆ งั้นรึ ก็ไม่ใช่อยู่แล้ว ลมหายใจของเราจะนำออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญกับกลูโคส ซึ่งจะเกิดผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย อวัยวะทุกส่วน รวมถึงสมองด้วย ลองนึกถึงตอนที่รู้สึกเหมือนอากาศหรือออกซิเจนไม่เพียงพอ เราจะรู้สึกมึนงง เบลอ ๆ

    เมื่อเราฝึกหายใจให้เป็น จะเกิดพลังต่อความคิด และร่างกาย เกิดสมดุลของสมองซ้าย-ขวา เพราะกระบวนการหายใจนั้นได้ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท แล้วยังเป็นช่องทางสื่อสารโดยตรงอย่างรวดเร็วได้ถึงสมองซึ่งจะเชื่อมโยงความสมดุลของระบบประสาท sympathetic และ ระบบ parasympathetic ที่จะช่วยให้ร่างกายกลับมาภาวะปกติ หรือภาวะผ่อนคลายนั่นเอง

การฝึกลมหายใจมันไปวุ่นวายกับระบบหายใจของเราตามธรรมชาติหรือเปล่า?

    บางทีเวลาที่เราตื่นเต้น กังวล เราก็หายใจไม่ปกตินะ เคยได้ยินคำว่า “แทบหยุดหายใจ” หรือ “หายใจเข้าลึก ๆ” ไหมล่ะ ดังนั้น การมีสติรู้ตัวในลมหายใจของเรา จะช่วยแก้ปัญหาความตื่นตระหนกในชีวิต และความเครียดได้ และตัวเรานี่แหละที่มีสิทธิ์ควบคุมการหายใจเข้า-ออก ได้ เมื่อเราควบคุมได้ เราก็จะดูแลสุขภาพ ร่างกายของเราได้ รวมถึงการนอนหลับด้วย

นอนไม่หลับ ทำไงดี

    ถ้าจะให้ดี องค์ประกอบอื่น ๆ ก็สำคัญมากในกรณีที่เรามีปัญหาเรื่องการนอน เช่น เสียงดัง ก็อาจหาอะไรมาอุดหูซะ หรือแสงสว่างที่ลอดผ่านผ้าม่านมา ก็ใช้ผ้าปิดตาให้มืดสนิท รวมถึงการนอนตรงเวลาให้สม่ำเสมอ อันนี้จะช่วยได้มาก ลองสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่นอนผิดเวลาไปมาก ๆ เราจะหลับยาก ดังนั้น ฝึกนอนไม่ให้ดึกมาก ไม่ควรเกินสี่ทุ่มครึ่ง ทุกวันจนร่างกายจดจำเวลานี้ไว้แล้วก็จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ส่วนคนที่ออกกำลังกายค่ำ ๆ มืด ๆ ก็อาจทำให้ร่างกายเราตื่นตัวนอนไม่หลับเช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์ก็จะทำให้หัวใจเต้นแรง บางทีก็ทำให้เราตื่นเร็วผิดเวลา นอนก็ดึกอยู่แล้ว เลยกลายเป็นพักผ่อนไม่เพียงพอ

    การดูแลสุขภาพกาย-ใจ ในแต่ละวันแบบองค์รวม จึงต้องใส่ใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เราใช้ร่างกายอย่างคุ้มค่า เราก็ต้องหมั่นดูแลรักษากันไปด้วยเนอะ เพราะร่างกายที่แข็งแรงไม่มีโรคภัย ไม่ใช่มาจากลาภอันประเสริฐ แต่มาจากการพฤติกรรมของตัวเรานั่นแหละ


หากคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ลอง Share ให้กับคนใกล้ตัวของคุณที่มีปัญหานอนไม่หลับดูนะ คุณอาจจะช่วยให้เขาหายจากอาการนี้ก็ได้เนอะ


เนื้อหาโดย : เว็บรีวิวเครื่องสำอาง cosmenet.in.th
What's new
ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริงแนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันKMA มอบโมเมนต์กลิ่นหอมแห่งความสุข ผ่านของขวัญสุดพิเศษมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 256813 ครีมลดริ้วรอย ยี่ห้อไหนดี เพื่อใบหน้าอ่อนเยาว์ผิวเฟิร์มกระชับ10 เซรั่มลดจุดด่างดำ ปี 2024 ลดเลือนฝ้า กระ พร้อมลดรอยดำจากสิวแบบเร่งด่วน!ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 24 - 30 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ MELAMII ANTI-MELASMA Perfect White Serum And Spot Corrector จบลูปฝ้าซ้ำซาก จำนวน 100 รางวัล
COMMENTS
4 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเลย
24 พ.ย. 2561 เวลา 22:32 น.
ความคิดเห็นที่ 3
เยี่ยมไปเลยค่ะ
20 พ.ย. 2561 เวลา 23:24 น.
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ จะเอาไว้ใช้เวลาที่นอนไม่หลับค่ะ
2 พ.ย. 2561 เวลา 13:22 น.
ความคิดเห็นที่ 1
เดี๋ยวคืนนี้ต้องลองซะแล้วค่ะ นอนหลับยากเหลือเกิน
27 ก.ย. 2561 เวลา 23:14 น.