8 รองพื้นเนื้อบางเบา ได้งานผิวเล่นแสง คุมมัน ไม่หยาไม่อุดตัน
สาระน่ารู้

ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย ดีต่อน้องสาวแถมดีต่อโลก ♥

2,853
27 ก.พ. 2566
ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัย ไอเทมสุดจึ้งใช้ทดแทนแทนผ้าอนามัยได้ปลอดภัย ยั่งยืน ลงทุนทีเดียวใช้ได้ยาวนานสูงสุดถึง 10 ปี! อีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม :D

ต้องยอมรับเลยว่า “ประจำเดือน” เป็นเรื่องธรรมชาติที่สร้างความไม่สบายตัวได้ทุกเดือน แถมต้นทุนของการเป็นประจำเดือนก็สูงลิ่ว เพราะต้องซื้อทั้งผ้าอนามัยและของบรรเทาอาการ PMS ในทุก ๆ เดือนนับแล้วก็แอบกุมหัวเหมือนกัน T T

เท่านั้นยังไม่พอจ้ะ โลกยังทวีความยุ่งเหยิงให้พวกเราเข้าไปอีก เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ใช้ผ้าอนามัยแล้วเกิดอาการแพ้ ไม่ว่าจะด้วยวัสดุที่ใช้ ความอับชื้น อากาศ การเสียดสี ก็ทำให้เกิดผื่นแดง ไปจนถึงอาการอักเสบได้ด้วย วันนี้ *Cosmenet เลยจะมาแนะนำไอเทมที่ใช้ทดแทนผ้าอนามัยได้อย่าง “ถ้วยอนามัย” ที่ผลข้างเคียงน้อย ลำบากหน่อยในช่วงแรกแต่พอใช้เป็นแล้วบอกเลยว่าสบายบรื๋ออ ~



ถ้วยอนามัย คืออะไร?


ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับรองรับเลือดประจำเดือน ลักษณะคล้ายกรวยปากกว้างและมีก้าน / ปลายจับที่ก้นถ้วย ถ้วยอนามัยมีหลากหลายขนาดและสี ซึ่งผลิตจากซิลิโคน หรือ ยางชนิดนิ่มที่เป็นเกรดทางการแพทย์เท่านั้นเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย

คุณสมบัติของถ้วยอนามัยที่น่าสนใจ คือ ใน 1 วันสามารถรองรับประจำเดือนได้ยาวนาน 6-12 ชั่วโมง ใส่เล่นกีฬาได้อย่างคล่องตัว ไม่อับชื้น ไม่เหนอะหนะ และสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง โดยมีอายุการใช้งานยาวนาน 5 - 10 ปี เรียกได้ว่า Trashless item สุด ๆ เลย เพราะ ถ้วยอนามัย 1 ชิ้นเทียบได้กับผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดราว 20 แผ่น/ชิ้นต่อเดือนเลยก็ว่าได้ สบายน้องแถมช่วยลดขยะได้ด้วยน้า เก๋กู้ด ~


ถ้วยอนามัย ใช้ยังไง?


ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

วิธีใช้ถ้วยอนามัย ก็ง่ายมาก ๆ เลยค่ะ
  • ล้างทำความสะอาดด้วยสบู่เหลวที่ไม่มีน้ำหอม เพื่อป้องกันสารตกค้างที่จะระคายเคืองน้องสาวได้ (ถ้าเพิ่งซื้อแกะกล่องใหม่ แนะนำให้ต้มก่อนใช้ 5-7 นาที เพื่อฆ่าเชื้อนะคะ) และทิ้งไว้ให้แห้ง
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่ถ้วยอนามัย ใครเล็บยาแนะนำให้ตัดเล็บด้วยนะคะ จะได้หายห่วงเรื่องเชื้อโรคที่เล็บ
  • พับถ้วยอนามัยให้มีขนาดเล็กพอที่จะใส่ถ้วยอนามัยเข้าไปในช่องน้องสาวได้ หรือ คลิกดูวิธีพับถ้วยอนามัยที่นี่เลย ;)
  • ดันถ้วยอนามัยให้เข้าไปลึกมากพออย่างน้อย 2 ข้อนิ้ว จะทำให้ถ้วยอนามัยอยู่ในตำแหน่งที่พอดี ถ้าดันได้ลึกมากพอ น้องสาวจะไม่เจ็บ ไม่อึดอัด และสามารถรองรับประจำเดือนได้ดีไม่มีเลอะเทอะเลยค่ะ
  • เช็กว่าถ้วยอนามัยกางออกหรือไม่ โดยใช้นิ้วสัมผัสบริเวณก้นถ้วยว่าเป็นรูปทรงกลม ไม่พับ หรือค่อย ๆ ดึงก้านถ้วยอนามัย หากรู้สึกมีแรงต้าน หน่วง ๆ แปลว่าถ้วยอนามัยกางออกอย่างถูกต้อง
หรือจะลองอ่านวิธีการถอด - ใส่ถ้วยอนามัยแบบละเอียดยิบ แนะนำให้ ♡ จิ้มตรงนี้ ♡ น้อง ๆ คณะแพทย์มหิดลทำข้อมูลไว้ให้อย่างดี เข้าใจง่ายสุด ๆ !

ถ้วยอนามัยใน 1 วัน ใส่ได้นานแค่ไหน?


ใน 1 วัน สามารถใส่ถ้วยอนามัยได้ยาวนานสูงสุดถึง 12 ชั่วโมง หมายความว่าถ้าใส่ตั้งแต่เช้า สามารถมาถอดทำความสะอาดที่บ้านหลังเลิกงานหรือเลิกเรียนก็ยังได้

แต่ในกรณีคนประจำเดือนมามาก (อย่างเช่นเค้าเอง ^^/) แนะนำให้นำถ้วยอนามัยออกมาเพื่อเทเลือดประจำเดือนทิ้งระหว่างวัน อย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ช่วงพักเที่ยงและหลังเลิกงาน หรือทุก 4-5 ชั่วโมงหลังใส่ถ้วยอนามัย และอย่าลืมล้างทำความสะอาดมือและถ้วยอนามัยทุกครั้งก่อนถอดและใส่กลับเข้าเพื่อสุขภาพที่ดีของน้องสาวน้าา

ในกรณีที่เดินทางไกล ต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ หรืออยู่ในจุดที่ทำความสะอาดถ้วยอนามัยลำบาก อาจต้องใช้แผ่นอนามัยแบบกางเกง แบบแปะ หรือแบบสอดจะดีกว่า เพราะหากห้องน้ำไม่สะอาด อาจเสี่ยงให้เกิดการปนเปื้อนและติดเชื้อได้ค่ะ


ข้อดี-ข้อเสียของการใช้ถ้วยอนามัย


ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

ข้อดี
  • ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เพราะใช้วัสดุเกรดทางการแพทย์
  • ใช้งานได้ยาวนาน ทนทาน และนำกลับมาใช้ซ้ำได้จนกว่าจะสิ้นสภาพ
  • รองรับประจำเดือนได้ดีตามปริมาณที่ระบุ ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือกลัวว่าจะเลอะเสื้อผ้า
  • คล่องตัว ไม่รู้สึกถึงการไหลของประจำเดือน ไม่รู้สึกเปียก ชื้น หรือเหนอะหนะหากใส่ถูกต้องและเลือกขนาดเหมาะกับช่องน้องสาว
  • ลดการเสียดสีที่ก่อให้เกิดผิวหมองคล้ำ ผดผื่น การอุดตัน และการอักเสบของผิว
  • ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เพราะประจำเดือนถูกกักเก็บไว้ในถ้วยภายในช่องน้องสาว ทำให้ไม่ไหลออกมาสัมผัสอากาศจึงไม่มีกลิ่น

ข้อเสีย
  • ราคาค่อนข้างสูง
  • ใส่ยากในช่วงแรก 
  • อาจซึมเปื้อนได้หากใส่ผิดวิธี

ไม่ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนแบบไหน แผ่นอนามัยแบบกางเกง แบบแปะ แบบสอด รวมไปถึงถ้วยอนามัย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความสะอาดและความใส่ใจในการดูแลตัวเองทั้งสิ้นเลยค่ะ เพราะน้องสาวของเราบอบบางมาก ๆ เลยในช่วงมีประจำเดือน หากไม่ดูแลให้ดีอาจส่งผลให้น้องติดเชื้อเข้ากระแสเลือดจนถึงแก่ชีวิตได้นะคะ

ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ใส่ถ้วยอนามัยได้มั้ย?


ถ้วยอนามัย สามารถใช้ได้ตั้งแต่มีประจำเดือนเลยค่ะ ไม่จำกัดอายุ และต่อให้ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ก็สามารถใส่ถ้วยอนามัยได้ 
แค่ต้องเลือกไซส์ให้เหมาะกับสรีระของตนเองนะคะ เพราะในช่วงที่มีประจำเดือน ช่องน้องสาวของเราหรือช่องคลอดจะขยายและเปิดมากกว่าปกติเพื่อระบายประจำเดือนออกอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ค่ะ แต่อาจจะรู้สึกแน่น คับ ตึง ๆ นิดหน่อยในช่วงแรก แนะนำว่าอย่าเกร็ง และค่อย ๆ ใส่จะได้ไม่เจ็บค่ะ

วิธีเลือกซื้อถ้วยอนามัย


ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

ถ้วยอนามัย ในท้องตลาดแทบทุกชนิด จะมีขนาดให้เลือกอย่างน้อย 3 ขนาด ทั้ง S, M และ L โดย *Cosmenet แนะนำให้เลือกจากสรีระของตัวเองและปริมาณของประจำเดือนในแต่ละเดือนเป็นหลักค่ะ แต่ถ้าไม่ชัวร์ลองดูเกณฑ์พื้นฐานได้ ดังนี้~
  • ถ้วยอนามัย ขนาด S ใช้กับวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 18 ปี ยังไม่เคยมีลูก ปากถ้วยจะแคบกว่าขนาดอื่น และก้นถ้วยตื้นที่สุด สามารถรองรับประจำเดือนได้ประมาณ 17 ml.
  • ถ้วยอนามัย ขนาด M ใช้กับหญิงที่อายุ 18-30 ปี ยังไม่เคยคลอดลูกผ่านช่องคลอด ช่องคลอดไม่กว้าง ปากถ้วยจะกว้างและก้นลึกนิดนึง ทำให้มีลักษณะป้อมกว่าไซส์ S และรองรับรองรับประจำเดือนได้ประมาณ 25 ml.
  • ถ้วยอนามัย ขนาด L ใช้กับหญิงอายุมากกว่า 30 ปี เคยผ่านการคลอดลูกแบบธรรมชาติ หรือคนที่ประจำเดือนมามาก แนะนำให้ใช้ถ้วยที่ก้นลึกที่สุด ปากถ้วยกว้างที่สุดเพื่อกระชับกับสรีระ และรองรับประจำเดือนได้กว่า 27 ml.
ก่อนซื้อถ้วยอนามัย ให้ตรวจสอบสรีระของตนเอง เช็กปริมาณประจำเดือนคร่าว ๆ และปรึกษาแอดมินหรือผู้จัดจำหน่ายเยอะ ๆ จนหายข้องใจก่อนซื้อ จะได้ใช้ถ้วยอนามัยได้อย่างเหมาะสมกับตัวเองนะคะ

เพิ่มเติม คือ โดยปกติแล้วผู้ที่มีประจำเดือน เฉลี่ยแล้วจะไม่เกินไปกว่า 30 ml. หรือใช้แผ่นอนามัยสูงสุดไม่เกิน 3-4 แผ่นต่อวัน (แบบเปียกชุ่มทั้งแผ่น) หากมีประจำเดือนมากเกินกว่านี้ อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบความผิดปกตินะคะ


แจกลิสต์ของที่ใช้ทดแทนผ้าอนามัยในยามฉุกเฉิน


ถ้วยอนามัย ไอเทมทดแทนผ้าอนามัย วิธีใส่ถ้วยอนามัย

ใช้อะไรแทนผ้าอนามัยได้บ้าง? ยามฉุกเฉินคับขัน หรือตอนที่ผ้าอนามัยหมดหาซื้อไม่ทัน อยากจะหาอะไรมารองน้องสาวไว้ก่อน เพื่อที่จะไปซื้อผ้าอนามัย หรือ ออกไปต้มถ้วยอนามัยมาใส่ จะใช้อะไรมารองรับประจำเดือนชั่วคราวได้บ้าง ไปดูกันค่ะ!
  • ทิชชู่ ม้วน ๆ ให้หนาเพียงพอเพื่อวางบนกางเกงชั้นในไม่ให้เลอะเทอะเสื้อผ้า หรือนำมาพันตรงเป้ากางเกงชั้นในก็ช่วยได้เช่นกัน
  • ถุงเท้า ขอให้สะอาดและหนามากพอ เป็นไอเทมทดแทนผ้าอนามัยแบบสากลที่สามารถต่อชีวิตได้สักระยะเลยค่ะ
  • สำลี จะแบบก้อนหรือแบบแผ่น ทำมาซ้อน ๆ เรียง ๆ ต่อกัน พันด้วยทิชชู่สักนิดก็ช่วยลดการเปรอะเปื้อนได้ชั่วคราวนะ
  • ผ้าขนหนู / ผ้าเช็ดหน้า ใช้เศษผ้าที่มีความหนาเพียงพอ มาพับรองที่เป้ากางเกง หรือพันเป้ากางเกงเพื่อมารองรับประจำเดือนก็ได้
  • กางเกงในอนามัย ไอเทมกู้ชีพที่น่าลงทุนอีกชิ้น แค่ใส่กางเกงในเอาไว้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนแถมไม่อึดอัดด้วย
นี่ก็เป็นลิสต์ไอเทมทดแทนผ้าอนามัยเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินนะคะ เหมาะกับชาวขี้ลืม คนประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา หรือในยามคับขันจริง ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยได้ค่ะ ^^

จบแล้วค่ากับเรื่องของ “ถ้วยอนามัย” ไอเทมทดแทนผ้าอนามัยที่ใช้ได้นานแถมลดขยะได้ด้วย ใครเคยใช้ถ้วยอนามัยหรือกำลังใช้อยู่ ขอรีวิวใต้คอมเมนท์คนละอันเพื่อให้สมาชิกคนอื่น ๆ นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจหน่อยน้าา ~



ถ้ายังไม่รู้จะใช้ถ้วยอนามัยยี่ห้อไหนดี ก็จิ้มที่นี่เลอ!

ถ้วยอนามัย ยี่ห้อไหนดี ถ้วยอนามัย ราคาเท่าไหร่
What's new
รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันรีวิวมาสคาร่าขนตาพลุ ตัวใหม่จาก Maybelline ขนตาพุ่งกระจาย มีวอลลุ่มแบบ 360 องศาCute Press จัดเต็มคอลใหม่! "Wave Up Make Up" 40 ชิ้น จุกๆ แมทช์สนุกสุดทุกสีสัน!ป้ายยาลิควิดบลัชตัวใหม่จาก Gentle Colors เนื้อละมุน เบลนด์ง่าย สีชัดติดทนนานมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 25688 รองพื้นเนื้อบางเบา ได้งานผิวเล่นแสง คุมมัน ไม่หยาไม่อุดตัน10 เจลล้างหน้า ผิวแพ้ง่าย ลดสิว ผิวสะอาดไม่ระคายเคือง หน้ามันก็ใช้ได้ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 3 - 9 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ กันแดด BSC Expert White Spot Protect Sunscreen เผยผิวหน้ากระจ่างใสพร้อมท้าแดด จำนวน 250 รางวัล
COMMENTS
2 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่เคยลองเลย???✨?
1 มี.ค. 2566 เวลา 8:58 น.
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณสำหรับสาระดีดีค่ะ
1 มี.ค. 2566 เวลา 8:08 น.