- มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายกับสิวผดขึ้นอยู่เป็นกลุ่มตามผิวหนัง
- สิวยีสต์ส่วนใหญ่จะไม่มีหัวสิว และไม่สามารถกดออกได้เหมือนสิวทั่วไป
- มีอาการคัน หรือระคายเคืองผิวบริเวณที่เป็นสิวร่วมด้วย ซึ่งสิวทั่วไปไม่ค่อยมีอาการคัน
- อาจมีการอักเสบเป็นสิวหัวแดง สิวอักเสบ สิวหัวหนอง สิวหัวช้างร่วมด้วย
- สิวยีสต์สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก และแก้ม นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสิวที่หน้าอก สิวที่แผ่นหลัง และข้อพับ ซึ่งเป็นจุดที่ค่อนข้างอับชื้นและเหงื่อออกได้ง่าย
วิธีรักษาสิวยีสต์
1. ล้างหน้าและชำระล้างผิวกายให้สะอาดอยู่เสมอ
เนื่องจากเหงื่อ และความมันบนผิวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวยีสต์ หรือสิวเชื้อรา ด้วยเหตุนี้หลังกลับถึงบ้านทุกครั้งสาว ๆ ควรตรงดิ่งเข้าไปที่ห้องน้ำเพื่อล้างหน้าและอาบน้ำทำความสะอาดผิวกายทันที เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา และสิวยีสต์
วิธีล้างหน้าลดสิวแบบ Double Cleansing
ในส่วนของการทำความสะอาดผิวหน้า แนะนำให้ใช้วิธีล้างหน้าลดสิวแบบ Double Cleansing โดยใช้คลีนซิ่งออยล์หรือคลีนซิ่งบาล์มบนใบหน้าที่แห้งในการขจัดเครื่องสำอางออกไปก่อนในรอบแรก จากนั้นจึงล้างหน้าด้วยโฟมหรือเจลล้างหน้าบนหน้าที่เปียก เพื่อทำความสะอาดความมันส่วนเกิน แบคทีเรีย สิ่งสกปรกตกค้าง และเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันการเกิดสิวยีสต์ได้แล้วค่าา~
2. เลือกใช้สบู่และแชมพูต้านเชื้อรา
สำหรับใครที่มีปัญหาสิวยีสต์ สิวเชื้อราบริเวณผิวกาย โดยเฉพาะหน้าอก แผ่นหลัง และข้อพับ ซึ่งเป็นจุดที่ค่อนข้างอับชื้นและเหงื่อออกได้ง่าย แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้สบู่และแชมพูที่มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียและยับยั้งการเกิดเชื้อราโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้สิวยีสต์กลับมาเกิดซ้ำอีก ควรใช้อย่างต่อเนื่องนะคะ
3. เลือกสวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี
การสวมใส่เสื้อผ้าที่คับจนเกินไปและไม่สามารถระบายอากาศได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อนจัด สิ่งที่ตามมาคือเหงื่อและความมัน ซึ่งเป็นอาหารหลักของยีสต์ เพราะฉะนั้นสาว ๆ ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่พอดีตัว ไม่รัดแน่นจนเกินไป และที่สำคัญเนื้อผ้าจะต้องมีความบาง สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันความอับภายในร่มผ้า ช่วยลดการเกิดเหงื่อและลดโอกาสการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ค่าา
4. รับประทานโพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ช่วยลดการอักเสบที่ผิว กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ผิว ทำให้ผิวแข็งแรงเพื่อมาต่อสู้กับเชื้อราที่ทำให้เกิดสิวยีสต์ ซึ่งนอกจากจะมาในรูปแบบอาหารเสริมโพรไบโอติกส์แล้ว ในอาหารบางประเภทก็อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์เช่นเดียวกันค่า เช่น โยเกิร์ต, นมเปรี้ยว, อาหารหมักดอง และดาร์กช็อคโกแลต เป็นต้น
5. ยารักษาสิวยีสต์
หากลองทำตามวิธีรักษาสิวยีสต์มาทุกข้อแล้วยังไม่หาย แนะนำให้ไปตรวจวินิจฉัยกับหมอผิวหนังโดยตรงนะคะ หรือหากต้องการรักษาสิวยีสต์ด้วยตัวเองด้วยการใช้ยาก็ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรด้วย ซึ่งการใช้ยารักษาสิวยีสต์ หรือสิวเชื้อรา มีให้เลือกทั้งยาแบบทายาสำหรับใช้ภายนอกและยาสำหรับรับประทาน ดังนี้
ยาทาสำหรับรักษารูขุมขนอักเสบจากเชื้อราได้แก่
- คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
- ซีลีเนียม ซัลไฟด์ (Selenium Sulfide)
- ไมโคนาโซล (Miconazole)
- โคลไตรมาโซล (Clotrimazole)
ยาสำหรับรับประทาน
- คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
- ฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
- ยาต้านเชื้อราไอทราโคนาโซล (Itraconazole)
ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ สาว ๆ ต้องระวังเรื่องปัญหาสิวมากเป็นพิเศษเลยนะคะ โดยเฉพาะสิวยีสต์ที่มาพร้อมเหงื่อและความมัน ถึงแม้สิวยีสต์จะมีลักษณะคล้ายกัยสิวทั่วไป แต่หากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธีก็อาจจะไม่หายและกลับมาเป็นซ้ำอีกได้น้าา
นอกจากสิวยีสต์จะขึ้นบนใบหน้าได้แล้ว ยังสามารถขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยนะคะ โดยเฉพาะบริเวณหลัง แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะเรามี 12 ไอเทม เป็นสิวที่หลังใช้อะไรดี ในงบ 300 บาทมาแนะนำกันแล้วว