แนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน
สาระน่ารู้

เช็ก 6 สัญญาณเตือนแพ้ครีมกันแดด และส่วนผสมที่เสี่ยงต่อการแพ้

2,092
19 มี.ค. 2567
แพ้ครีมกันแดด

แพ้ครีมกันแดด ทําไงดี? กว่าจะเจอสิ่งที่ใช่ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีกับครีมกันแดดมาก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “อาการแพ้ครีมกันแดด” ที่เกิดจากการเลือกครีมกันแดดที่ไม่เหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง และสารต่าง ๆ ในครีมกันแดดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว วันนี้ *Cosmenet เลยถือโอกาสพาสาว ๆ มาเช็ก 6 สัญญาณเตือนแพ้ครีมกันแดด และส่วนผสมที่เสี่ยงต่อการแพ้กันค่าา~


6 ส่วนผสมในครีมกันแดดที่เสี่ยงต่อการแพ้ 


6 ส่วนผสมในครีมกันแดดที่เสี่ยงต่อการแพ้

อากาศร้อน ๆ แบบนี้ “ครีมกันแดด” เป็นไอเทมที่ขาดไม่ได้เลยล่ะค่ะ แต่อยากให้เพื่อน ๆ พลิกหลังขวดเช็กกันหน่อยว่าครีมกันแดดที่กำลังใช้อยู่มีส่วนผสมของสารเหล่านี้หรือไม่ เพราะถ้ามีก็จะส่งผลให้ระคายเคืองผิวและก่อให้เกิดการแพ้ครีมกันแดดได้ค่ะ

  • แอลกอฮอล์ (Alcohol) : แอลกอฮอล์เป็นตัวช่วยให้สกินแคร์ซึมซาบสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยผลักให้ส่วนผสมต่าง ๆ ให้ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายขึ้น และช่วยลดความมันบนผิวได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนผิวแห้งและผิวแพ้ง่าย รู้สึกระคายเคืองผิว และมีปัญหาสิวตามมาได้
  • พาราเบน (Paraben) : พาราเบน คือ สารกันเสียที่นิยมนำมาใส่ในเครื่องสำอางและสกินแคร์เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งเมื่อร่างกายดูดซึมสารชนิดนี้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่มีเกี่ยวข้องกับการสืบพันธ์ุได้
  • ซิลิโคน (Silicone) : ซิลิโคนในครีมกันแดดจะช่วยให้เนื้อสัมผัสมีความนุ่มลื่น เกลี่ยง่าย และยังช่วยปรับผิวให้เรียบเนียนขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันซิลิโคนก็เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และอุดตันตามมาได้ ซึ่งส่วนใหญ่บนฉลากผลิตภัณฑ์มักจะไม่ได้ระบุคำว่า Silicone โดยตรง แต่จะระบุเป็นคำอื่นแทน โดยสามารถสังเกตสารกลุ่มซิลิโคนได้ง่าย ๆ จากคำที่ลงท้ายด้วย -cone, -conol, -silane และ -oxane
  • น้ำหอม (Perfume/Fragrance) : สำหรับครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของน้ำหอมมักจะระบุบนฉลากว่า Fragrance หรือ Perfume แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นน้ำหอมประเภทไหน และสกัดจากอะไร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวนั่นเองค่ะ
  • น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) : น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติที่ช่วยมอบกลิ่นหอมเช่นเดียวกับน้ำหอม แต่จะแตกต่างกันตรงที่น้ำมันหอมระเหยเกิดจากการนำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกับแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว และทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น
  • Octyl Methoxycinnamate : จัดเป็นสารกันแดดประเภท Chemical ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันแสง UVB แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดการสะสมใต้ผิวหนัง จนเกิดการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และเป็นอันตรายต่อตับได้ โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มีส่วนผสมชนิดนี้

เช็ก 6 สัญญาณเตือนแพ้ครีมกันแดด


1. ใช้ปุ๊บ สิวขึ้นปั๊บ!


ใช้ปุ๊บสิวขึ้นปั๊บ!

หากใครที่เพิ่งเริ่มใช้ หรือเพิ่งเปลี่ยนครีมกันแดด แต่หลังจากใช้ประมาณ 1-2 วันแล้วสังเกตเห็นว่ามีสิวเห่อขึ้นทันที หรือมีสิวขึ้นในบริเวณที่ไม่เคยขึ้นมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยค่ะว่าเป็นอาการแพ้ครีมกันแดด หรือแพ้สารบางชนิดที่อยู่ในครีมกันแดด แนะนำให้หยุดใช้ทันที แต่ถ้าหยุดใช้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีสิวขึ้นเพิ่ม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


2. รู้สึกแสบร้อนผิว


รู้สึกแสบร้อนผิว

สำหรับบางคนอาจแสดงอาการแพ้ครีมกันแดดทันทีหลังใช้คือรู้สึกแสบร้อนผิวหน้าหลังทาครีมกันแดด โดยอาจมีอาการคันยิบ ๆ มีผื่นขึ้น หรือผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงร่วมด้วย ซึ่งอาจเกิดจากการเลือกครีมกันแดดที่ไม่เหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง โดยเฉพาะคนที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หรืออาจเกิดจากส่วนผสมบางชนิดในครีมกันแดดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว เช่น แอลกอฮอล์, พาราเบน และน้ำหอม เป็นต้น


3. ผิวแห้งลอก


ผิวแห้งลอก

อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังแพ้ครีมกันแดดคือ “อาการผิวแห้งลอก” หลังใช้ครีมกันแดด โดยผิวหน้าจะเริ่มแห้งกร้าน ขาดน้ำ และลอกเป็นขุยแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะดึงความชุ่มชื้นออกจากผิว ทำให้ผิวแห้งกร้านและลอกเป็นขุยนั่นเองค่ะ


4. มีผื่นขึ้นเป็นปื้น


มีผื่นขึ้นเป็นปื้น

สำหรับคนที่แพ้ครีมกันแดด อาการเริ่มแรกอาจมีผื่นขึ้นเป็นปื้น ผิวหนังบวมแดง มีลักษณะเป็นตุ่มคันคล้ายลมพิษ และมักมีอาการคัน หรือรู้สึกแสบร้อนร่วมด้วย โดยมีสาเหตุมาจากการแพ้สารเคมีบางชนิดที่อยู่ในครีมกันแดด เช่น น้ำหอม และพาราเบน


5. มีตุ่มขาวหรือตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบนใบหน้า


มีตุ่มขาวหรือตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบนใบหน้า

บางคนอาจไม่ได้มีผื่นขึ้นเป็นปื้น แต่กลับมีตุ่มขาวหรือตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบนใบหน้า ซึ่งก็จัดเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนแพ้ครีมกันแดดเช่นกันค่ะ โดยส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Mineral Oil หรือมีสารไขมันในปริมาณที่มากเกินไปจนเกิดการอุดตันรูขุมขน และเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ ตามมาได้


6. ผิวไวต่อแสง


ผิวไวต่อแสง

ในบางกรณีอาจไม่ได้มีอาการแพ้ที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน แต่ผิวหน้าจะมีความไวต่อแสง โดยเฉพาะเวลาโดนแสงแดดจัด ผิวหน้าจะเกิดการระคายเคือง อาการผิวแดง รู้สึกแสบร้อนเร็วกว่าปกติ และผิวหมองคล้ำง่าย ซึ่งเกิดจากการแพ้ครีมกันแดดที่ส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด จึงส่งผลให้ผิวบางลงและไวต่อแสง


วิธีเลือกกันแดดสําหรับผิวแพ้ง่าย นอกจากจะเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวของตัวเองแล้ว ยังต้องเลือกครีมกันแดดที่ไม่มีส่วนผสมของสารอันตรายที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวด้วย เพื่อให้สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เสี่ยงต่อการแพ้ครีมกันแดดนั่นเองค่าา


ใครรู้ตัวว่าเป็นคนผิวบอบบางแพ้ง่าย และกังวลว่าจะแพ้ครีมกันแดด แนะนำให้ตามมาอ่านรีวิว 10 ครีมกันแดดไม่มีแอลกอฮอล์กันต่อเลย รับรองว่าอ่อนโยนต่อผิวขั้นสุด!!

ครีมกันแดดไม่มีแอลกอฮอล์

What's new
ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริงแนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันKMA มอบโมเมนต์กลิ่นหอมแห่งความสุข ผ่านของขวัญสุดพิเศษมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 256813 ครีมลดริ้วรอย ยี่ห้อไหนดี เพื่อใบหน้าอ่อนเยาว์ผิวเฟิร์มกระชับ10 เซรั่มลดจุดด่างดำ ปี 2024 ลดเลือนฝ้า กระ พร้อมลดรอยดำจากสิวแบบเร่งด่วน!ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 17 - 23 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ MELAMII ANTI-MELASMA Perfect White Serum And Spot Corrector จบลูปฝ้าซ้ำซาก จำนวน 100 รางวัล
COMMENTS
3 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณค่ะ
18 ต.ค. 2567 เวลา 14:39 น.
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณนะคะ เป็นคนผิวแพ้ง่าย ปกติจึงใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ที่อ่อนโยน และลดการระคายเคืองค่ะ
5 ต.ค. 2567 เวลา 17:45 น.
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณค่ะ
19 มี.ค. 2567 เวลา 15:36 น.