อัปเดต 14 เรตินอลตัวปัง 2025 ยี่ห้อไหนใช้ดีหน้าใส ขนมาหมด!
สาระน่ารู้

ทำความรู้จัก “ฮอร์โมนเลปติน” ฮอร์โมนความอิ่มที่เป็นสาเหตุของความอ้วน

891
28 พ.ค. 2567
ฮอร์โมนเลปติน

เคยมั้ยค่ะ พยายามจะลดน้ำหนักยังไงก็ไม่สำเร็จ ใจมันเกเรหิวนั่นหิวนี่ไม่หยุดดด จนบางทีก็เผลอตะบะแตก! นั่นอาจเป็นเพราะฮอร์โมนคุมหิวกำลังมีปัญหาฉะนั้นก่อนจะไปลดน้ำหนักทางเราอยากให้รู้จักกับ ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารเมื่อกระเพาะเกิดการขยายตัว ซึ่งความหิวและความอิ่มของคนเรานั้นก็ขึ้นอยู่กับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้นั่นเองค่ะ เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหู วันนี้ *Cosmenet เลยถือโอกาสพาทุกคมาทำความรู้จักกับ “ฮอร์โมนเลปติน” ให้มากขึ้นกัน ว่าแล้วก็รีบตามมาดูกันเลยค่าา~


ฮอร์โมนเลปติน คืออะไร?


ฮอร์โมนเลปติน คืออะไร?

ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารของมนุษย์ ทำให้เรารู้สึกอิ่ม และไม่รับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ้วนและโรคต่าง ๆ อีกมากมาย

นอกจากฮอร์โมนความอิ่ม ก็ยังมีฮอร์โมนหิวด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า “เกรลินฮอร์โมน” (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารของเรา ซึ่งเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาจะมีการส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อกระตุ้นความหิวและทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารนั่นเองค่ะ


ภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน


ภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน

ภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน มีสาเหตุมาจากอาหารบางประเภทที่ทำให้เกิดภาวะขาดสมดุลของฮอร์โมนเลปติน เช่น ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่มบางชนิด, ขนมหวาน และน้ำตาล เป็นต้น การรับประทานอาหารเหล่านี้อย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเลปตินออกมาเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น แต่ในขณะเดียวกันสมองของเรากลับดื้อ เพราะรสชาติและความหวานของอาหาร ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากอาหารและกินบ่อยขึ้น ก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนตามมาได้ ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า “ภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน” นั่นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรให้ความสำคัญกับการรักษาระดับฮอร์โมนเลปตินให้สมดุลอยู่เสมอ


วิธีรักษาสมดุลของฮอร์โมนเลปติน


1. กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ


กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ

หลายคนอาจจะคิดว่าวิธีลดน้ำหนักที่รวดเร็วที่สุดคือการอดอาหาร แค่ในความจริงแล้วนอกจากจะทำให้เกิดภาวะโยโย่เอฟเฟกต์ (Yo – Yo Effect) ภาวะที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว และเด้งเพิ่มขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็วเช่นกันแล้ว ยังอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเลปตินแปรปรวนและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้อฮอร์โมนเลปตินด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ โดยเว้นระยะห่างแต่ละมื้อประมาณ 5-6 ชั่วโมง รวมถึงงดขนมขบเคี้ยว และของหวานต่าง ๆ


2. กินอาหารสุดท้ายก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง


 กินอาหารสุดท้ายก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง

ยอมรับมาซะดี ๆ ว่าใครชอบกินข้าวมื้อดึกแล้วเข้านอนทันทันที บอกเลยว่าต้องรีบเปลี่ยนพฤติกรรรมด่วน ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาท้องอืดและกรดไหลย้อนแล้ว ยังอาจทำให้อ้วนได้ง่าย โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่สูง และไม่ออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิดไขมันสะสมมากขึ้น ซึ่งขัดขวางและรบกวนการส่งสัญญาณของฮอร์โมนเลปติน


3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเกินกว่าความต้องการ


หลีกเลี่ยงการกินอาหารเกินกว่าความต้องการ

สำหรับใครที่เป็นสายกินจุกจิก หรือชอบกินอาหารมื้อใหญ่จนเกินไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดื้อฮอร์โมนเลปตินได้ค่อนข้างสูงกว่าคนที่รับประทานอาหาร 3 มื้อ โดยไม่กินจุกจิกระหว่างวัน เพราะเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเลปตินออกมาเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น แต่สมองของเรากลับดื้อไม่ยอมสั่งให้ร่างกายหยุดกิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากินตามใจปาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดื้อฮอร์โมนเลปติน ส่งผลให้เราสามารถรับประทานอาหารได้เรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ท้องยังอิ่มอยู่


4. กินอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง


กินอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง

อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน ซึ่งถือเป็นพลังงานชุดแรกของร่างกายและสมอง โดยในมื้อเช้ากินอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่,ปลา, อกไก่ และนม เป็นต้น เพราะการกินอาหารที่มีโปรตีนสูงในช่วงเช้าจะการเร่งการเผาผลาญและทำให้อิ่มนานขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความหิวและลดพลังงานจากอาหารในมื้อกลางวันด้วย


5. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล


หลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล

ฮอร์โมนเกรลิน หรือฮอร์โมนหิว เมื่อหลั่งออกมาจะทำให้รู้สึกหิวและอยากอาหาร โดยเฉพาะของหวานและแป้ง ซึ่งเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายคน เมื่อฮอร์โมนเลปตินหลั่งออกมาเพื่อทำให้รู้สึกอิ่ม ในขณะเดียวกันสมองของเรากลับดื้อ เพราะรสชาติและความหวานของอาหาร ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอยากอาหารและกินบ่อยขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดื้อฮอร์โมนเลปตินนั่นเองค่ะ


6. กินผักและผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน


กินผักและผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน

นอกจากจะมีประโยนช์ต่อร่างกายแล้ว ผักและผลไม้บางชนิดยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่มด้วย ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิ้ล, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, พืชตระกูลถั่ว, ธัญพืช รวมถึงผักบางชนิด เช่น ผักเคล, ผักคะน้า, กะหล่ำดอก และบล็อคโคลี่ เป็นต้น ซึ่งผักและผลไม้เหล่านี้เมื่อกินแล้วจะช่วยลดความอยากอาหารได้ เหมาะสำหรับสาว ๆ ที่อยู่ในช่วงไดเอทสุด ๆ เลยค่ะ


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับความรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่มที่เรานำมาฝากกัน สำหรับใครที่รู้สึกว่าช่วงนี้หิวบ่อยลองสังเกตตัวเองกันดูนะคะว่าเราเข้าข่ายภาวะดื้อฮอร์โมนเลปตินหรือไม่


สาว ๆคนไหนที่อยู่ในช่วงไดเอทและกำลังงดน้ำตาล เราก็มีตาราง sugar detox วิธีลดน้ำตาลให้หุ่นเป๊ะ สิวหาย หน้าไม่เหี่ยวมาแจกกันแล้วค่าา

วิธีลดน้ำตาล

What's new
ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริงแนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันETUDE ส่งท้ายปีกับคอลเลคชั่นใหม่ Dear My Bestie ด้วยความน่ารักแบบเกินต้าน!Sea Moss Gel คืออะไร? ส่อง 5 คุณประโยชน์ของ Sea Moss ที่สายเฮลตี้ต้องรู้อัปเดต 14 เรตินอลตัวปัง 2025 ยี่ห้อไหนใช้ดีหน้าใส ขนมาหมด!บอกต่อ! 11 ยาสีฟันสมุนไพร ยี่ห้อไหนดี แก้ปวดฟัน ลดอาการเหงือกบวมอักเสบดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 22 - 28 ธ.ค. 67 (ทุกราศี) เท้าแตก ทําไงดี? 5 สูตรสครับแก้เท้าแตก ให้ผิวเนียนนุ่ม ไร้กลิ่นไม่พึงประสงค์Cosmenet* ส่งท้ายปีกับไอเทม Redeem แบบจุใจตลอดเดือนธันวาคม 2024!
COMMENTS
4 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณค่ะ
1 ธ.ค. 2567 เวลา 20:42 น.
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณค่ะ
24 พ.ย. 2567 เวลา 21:06 น.
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณค่ะ
2 ต.ค. 2567 เวลา 15:55 น.
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆ นะคะ
25 ก.ย. 2567 เวลา 13:39 น.