ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริง
สาระน่ารู้

อย่ามองข้าม! PCOS ภาวะถุงน้ำในรังไข่ อาการยอดฮิตของสาว ๆ วัยทำงาน

835
26 ก.ค. 2567
PCOS ภาวะถุงน้ำในรังไข่ อาการยอดฮิตของสาว ๆ วัยทำงาน

ถุงน้ำในรังไข่ หรือ PCOS (พีซีโอเอส) ภาวะยอดฮิตของผู้หญิงที่บอกเลยว่าอาจเกิดขึ้นได้กับสาว ๆ ทุกคน ใครที่มีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ หรืออยู่ในช่วงน้ำหนักเกิน แล้วรู้สึกว่าร่างกายเปลี่ยนไปมาก ๆ ทั้งเสียงที่เปลี่ยนไป เป็นสิวมากขึ้น รวมถึงขนขึ้นตามร่างกายมากกว่าเดิม อาจต้องลองปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเพื่อรักษาอาการ PCOS และปรับฮอร์โมนให้เป็นปกติกันดีกว่าา

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราเป็น PCOS หรือเปล่า วันนี้ *Cosmenet จะมาเล่าสรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่าย เข้าใจได้ทันทีที่อ่านจบ ไปดูกันเลยย!


ถุงน้ำในรังไข่ หรือ PCOS คืออะไร?


PCOS ภาวะถุงน้ำในรังไข่ อาการยอดฮิตของสาว ๆ วัยทำงาน

ถุงน้ำในรังไข่ หรือ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) คือโรคหรือภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบฮอร์โมนทำงานอย่างเต็มที่ ทำให้ความผิดปกติชัดเจนขึ้นกว่าช่วงวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ มีขนขึ้นตามร่างกาย ผมร่วงผมบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสียงที่ทุ้มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของร่างกายที่เห็นได้ชัดด้วยตัวเอง

ต้องบอกเลยว่า PCOS หรือโรคถุงน้ำในรังไข่ เนี่ย มีอัตราการเกิดภาวะนี้สูงมากในหมู่สาว ๆ เพราะสามารถพบได้ในผู้หญิง 1 ใน 10 คนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับภาวะอื่น ๆ อย่างน้ำหนักเกิน รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือเบาหวานประเภท 2 ด้วย


สาเหตุของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS


สาเหตุของ PCOS ภาวะถุงน้ำในรังไข่

สาเหตุของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากการรีเสิร์ชข้อมูลจากงานวิจัยและนักวิจัย พบว่าสาเหตุหลัก ๆ ของ PCOS เกิดจากปัจจัยที่หลากหลายเหล่านี้ ได้แก่

  • พันธุกรรม: หากสาว ๆ มีญาติสายตรงเป็น PCOS มาก่อน โอกาสที่ตัวเองจะเป็น PCOS ก็มีสูงขึ้นเช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันผ่านพันธุกรรมได้ค่ะ
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน: เนื่องจากร่างกายเริ่มตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดจึงสูง ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากขึ้น พอระดับอินซูลินในร่างกายสูงกว่าปกติ จะส่งผลให้รังไข่ถูกกระตุ้นและผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนออกมามากเกินไป ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะไปรบกวนการตกไข่และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และส่งผลต่อการเกิดภาวะ PCOS ได้
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน: เนื่องจากสภาวะอินซูลินที่ไม่ปกติ ทำให้ฮอร์โมนผันผวนไปด้วย จึงทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง และเริ่มเกิดขนขึ้นมากขึ้น หน้ามัน สิวขึ้นมากกว่าเดิม อารมณ์แปรปรวน และยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นอกจาก PCOS ได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
สาเหตุ PCOS จึงมักเกิดจากการปัจจัยต่าง ๆ ผสมปนเปกัน ไม่ใช่สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าอยากรู้สาเหตุหลักอาจต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยอย่างแม่นยำค่ะ ^^

อาการของ PCOS หรือโรคถุงน้ำในรังไข่


อาการของ PCOS ภาวะถุงน้ำในรังไข่

อาการของ PCOS หรือโรคถุงน้ำในรังไข่ มีหลากหลายอย่างด้วยกัน และอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น…
  • ความผิดปกติของประจำเดือน: ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ บางรายอาจขาดประจำเดือนไปเลย หรือในบางกลุ่มอาจเป็นประจำเดือนมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าปกติ
  • ภาวะขนดก (Hirsutism): เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้น และฮอร์โมนเพศหญฺิงที่ลดลงเลยทำให้เกิดภาวะขนขึ้นบริเวณแขน ขา และหน้าอก มากกว่าปกติ
  • สิวขึ้นมากกว่าปกติ: บางคนมีการเปลี่ยนแปลงที่สภาพผิว เช่น ผิวมันมาก สิวขึ้นกว่าเดิมแบบผิดปกติ
  • ผมร่วง: เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายเยอะขึ้น จึงทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง กว่าเดิม
  • น้ำหนักเพิ่มและลดยาก: น้ำหนักขึ้นแบบผิดปกติ และไม่สามารถลดลงได้ง่าย ๆ เหมือนเมื่อก่อน เพราะฮอร์โมนที่ไม่สมดุล
  • ผิวหนังคล้ำ: ผิวบริเวณคอ ใต้ราวนม และรักแร้มีสีเข้มขึ้น เนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน และฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
  • ปวดท้องน้อย: อาจเกิดจากถุงน้ำในรังไข่ที่มีการขยายใหญ่ขึ้น หรือมีจำนวนมากขึ้นได้
  • สุขภาพจิต: มีภาวะซึมเศร้า หรือภาวะนอนหลับยากขึ้นได้
หากสงสัยว่าตัวเองสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นถุงน้ำในรังไข่หลายใบหรือเปล่า ก็ลองไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมนะคะ จะได้รับการรักษาได้อย่างถูกต้องค่าา

วิธีรักษาถุงน้ำที่รังไข่ (PCOS)


น่าเสียดายที่ต้องบอกว่า PCOS ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการอาการและควบคุมภาวะนี้ให้คงที่และไม่กระทบต่อสุขภาพมาก โดยมีวิธีดังนี้
  • ปรับไลฟ์สไตล์ใหม่: ดูแลตัวเองมากขึ้น ด้วยการควบคุมน้ำหนัก ปรับอาหารการกินเพื่อบาลานซ์ฮอร์โมน รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำหนักเกินอีกครั้ง
  • ใช้ยาในการรักษา: โดยการปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อรับยาคุมกำเนิด ยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือยารักษาภาวะดื้ออินซูลินในบางราย

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องบอกเลยนะคะ ว่าแม้ PCOS จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เหมือนโรคอื่น ๆ แต่การรักษาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการไม่พึงประสงค์ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างดี เพียงต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการหมั่นเช็กตัวเอง และเข้าพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาเสมอ จะทำให้สุขภาพเราดีขึ้น และ PCOS จะส่งผลกระทบให้ชีวิตประจำวันน้อยลงได้ค่ะ :)

เรื่องที่สาว ๆ ควรรู้ยังมีอยู่ที่นี่อีกเพียบ ไปอ่านกัน!
What's new
ป้ายยา 5 อันดับครีมกันแดดหน้า ยี่ห้อไหนดี บางเบา ซึมง่าย สบายผิว จากรีวิวผู้ใช้จริงแนะนำ 5 อันดับไอเท็มจัดการฝ้าซ้ำซาก จะฝ้าแบบไหนก็เอาอยู่ รวมตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน รีวิว 5 รองพื้นผิวโกลว์ บางเบาแต่ปกปิดเนียนกริบ ติดทนตลอดวันKMA มอบโมเมนต์กลิ่นหอมแห่งความสุข ผ่านของขวัญสุดพิเศษมัดรวม 4 ปีชงปีมะเส็ง มีนักษัตร์ไหนบ้าง พร้อมสถานที่ วิธีแก้ชง 256813 ครีมลดริ้วรอย ยี่ห้อไหนดี เพื่อใบหน้าอ่อนเยาว์ผิวเฟิร์มกระชับ10 เซรั่มลดจุดด่างดำ ปี 2024 ลดเลือนฝ้า กระ พร้อมลดรอยดำจากสิวแบบเร่งด่วน!ดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 17 - 23 พ.ย. 67 (ทุกราศี) แต่งหน้ายังไงให้ติดทน? แจก 8 วิธีแต่งหน้าติดทน ไม่เป็นคราบ ฉบับโมเมพาเพลินกิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ MELAMII ANTI-MELASMA Perfect White Serum And Spot Corrector จบลูปฝ้าซ้ำซาก จำนวน 100 รางวัล
COMMENTS
6 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
เป็นความรู้มากค่ะ ขอบคุณนะ
17 ต.ค. 2567 เวลา 23:37 น.
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณนะะ
10 ต.ค. 2567 เวลา 20:28 น.
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณนะคะ
3 ต.ค. 2567 เวลา 21:25 น.
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณค่ะ
30 ก.ย. 2567 เวลา 20:18 น.
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณค่ะ
28 ก.ย. 2567 เวลา 0:19 น.
ความคิดเห็นที่ 1
น่าใช้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
27 ก.ย. 2567 เวลา 13:38 น.