menu
search
สาระน่ารู้
อาการชาปลายนิ้ว บอกอะไรได้บ้าง? สัญญาณจากปลายนิ้วที่ต้องรู้!
1,411
25 ต.ค. 2567
หลายคนคงเคยมีอาการ
“ชาปลายนิ้ว”
ทั้งจากการทำงานหรือกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ แต่เคยสงสัยกันบ้างมั้ยคะ ว่าทำไมถึงเกิดอาการนี้ขึ้น?
วันนี้
*Cosmenet
จะพาไปทำความรู้จักกับสาเหตุของอาการนี้พร้อมวิธีการดูแลรักษาและป้องกัน เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นกันค่าา
อาการชาปลายนิ้วคืออะไร?
อาการชาปลายนิ้ว
คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อตัวรับสัญญาณประสาทบริเวณนิ้วมือทำงานผิดปกติ ทำให้เรารู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มหรือชา ๆ ตึง ๆ ไปทั้งบริเวณปลายนิ้ว อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเป็นต่อเนื่องก็ได้
ต้องบอกเลยว่า
“อาการชาปลายนิ้ว”
เป็นหนึ่งในสัญญาณของร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ซ่อนอยู่ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับ โรคระบบหลอดเลือด หรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังก็เป็นได้ค่ะ
สาเหตุหลักของอาการชาปลายนิ้ว
1. เส้นประสาทถูกกดทับ
หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้ว ก็คือการที่ “เส้นประสาทถูกกดทับ” โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ การที่ข้อมือและนิ้วต้องอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิด โรคพังผืดในมือ (Carpal Tunnel Syndrome) ซึ่งส่งผลต่อเส้นประสาทบริเวณข้อมือและทำให้ปลายนิ้วเกิดอาการชาได้อีกด้วย
2. ปัญหาเส้นเลือด
อาการชาปลายนิ้วอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของ “โรคระบบหลอดเลือด” เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดมีไขมันสะสมทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น หรือ โรคเรย์นอส์ (Raynaud's Disease) ซึ่งเป็นการตอบสนองของเส้นเลือดเล็ก ๆ บริเวณนิ้วที่หดตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับความเย็น ทำให้ปลายนิ้วชาหรือซีดขาว ส่วนนี้ก็ต้องปรึกษาแพทย์และวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคเหล่านี้หรือเปล่าถึงมีอาการชาปลายนิ้วบ่อย ๆ ค่ะ
3. โรคระบบประสาท
ในบางกรณี อาการชาปลายนิ้วอาจเกี่ยวข้องกับ โรคระบบประสาท เช่น โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ (Peripheral Neuropathy) และสาเหตุนี้มักพบบ่อยในผู้ที่ขาดวิตามินบางชนิด และผู้ที่อาจจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะโรคนี้ทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมปลายนิ้วเสียหายและทำให้เกิดอาการชาขึ้นได้ แนะนำให้ลองตรวจสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวนะคะ
4. การขาดวิตามินและแร่ธาตุ
อาการชาปลายนิ้วมือ อาจเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน B12, B6 หรือแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม จนทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้วได้ เพราะวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้มีส่วนช่วยในระบบประสาท การขาดสารอาหารเหล่านี้จะทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ ส่งผลให้เรารู้สึกชาที่ปลายนิ้วได้ด้วยเช่นกันค่าา
วิธีการดูแลและป้องกันอาการชาปลายนิ้ว
1. ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน
การนั่งผิดท่านาน ๆ นอกจากจะทำให้เกิด
ออฟฟิศซินโดรม
และ
ก้อนที่บ่า
แล้ว ยังทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้วมือได้ด้วย เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ควรปรับระดับโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสม ควรใช้แผ่นรองข้อมือ และพักมือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือและลดอาการชา พร้อมบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยค่ะ
2. หมั่นออกกำลังกายและยืดเส้น
การออกกำลังกายที่เน้นบริเวณข้อมือและนิ้วมือ เช่น การยืดนิ้ว การหมุนข้อมือ หรือการกำหมัด-แบมือ จะช่วยให้เส้นเลือดและเส้นประสาทไม่เกิดการกดทับและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชาได้ในระยะยาวนะคะ
3. รักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม
หากมือคุณมักชาในเวลาที่อากาศเย็นผิดปกติ อาจหมายถึงคุณมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ไวต่อความเย็น ควรรักษาความอบอุ่นให้กับมือและนิ้ว โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความเย็นนานๆ เพราะจะช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการชาลงได้
4. รับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุ
บรรเทาและรักษาอาการชาปลายนิ้วด้วยการเลือกทานอาหารที่มีวิตามิน B6, B12 และ แมกนีเซียม เช่น เนื้อสัตว์ ปลา นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงเส้นประสาทและลดโอกาสการเกิดอาการชาปลายนิ้วอย่างเห็นได้ชัดเมื่อทานอย่างสม่ำเสมอค่ะ
5. หลีกเลี่ยงสารที่กระตุ้นร่างกาย
สายชา กาแฟ อาจจะต้องพักก่อนนะคะ เพราะสารกระตุ้น อย่างเช่น คาเฟอีนจากกาแฟ และนิโคตินที่ได้จากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดและการทำงานของระบบประสาท ซึ่งทำให้เกิดอาการชาได้ การลดปริมาณของสารกระตุ้นเหล่านี้ต่อวันจะช่วยให้อาการชาปลายนิ้วดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกันค่าา
ชาปลายนิ้วขนาดไหนถึงควรพบแพทย์?
หากคุณมี
“อาการชาปลายนิ้ว” อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการร่วมอื่น ๆ
เช่น อาการเจ็บแปลบ อ่อนแรง หรือมีอาการชาที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด
แพทย์อาจสั่งการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจประสาท และการถ่ายภาพ MRI เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการชาปลายนิ้วและรักษาให้อย่างเหมาะสมค่ะ
เห็นมั้ยคะว่า
“อาการชาปลายนิ้ว”
ที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกายที่เราไม่ควรมองข้ามเลยแม้แต่นิดเดียว การดูแลตนเองด้วยวิธีการที่ถูกต้องจะช่วยลดอาการและทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็น ดูแลสุขภาพระบบประสาท และปรับพฤติกรรมการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการชาปลายนิ้วในระยะยาวกันด้วยน้าา ~
เรื่องสุขภาพที่น่าสนใจของวัยทำงาน อ่านเพิ่มเติมกันได้ที่นี่
“ก้อนที่บ่า” อาการออฟฟิศซินโดรมที่ดูไม่อันตราย แต่ส่งผลกับสุขภาพระยะยาว
7 วิธีแก้ Monday Blues เลิกเบื่อวันจันทร์ แฮปปี้ทุกวันได้ง่าย ๆ!
เคล็ดลับการนอน นอนไม่หลับ นอนยังไงก็ไม่พอ ต้องลองวิธีนี้
7 สัญญาณโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หน้าฝนเปียกปอน หน้าร้อนก็เศร้า
Tags:
อาการชาปลายนิ้ว
สาเหตุอาการชาปลายนิ้ว
ชาปลายนิ้ว
การรักษาอาการชาปลายนิ้ว
สาเหตุของอาการชา
IN THIS SECTION
ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ผมร่วงจริงมั้ย? ไขคำตอบพร้อมแนะนำวิธีดูแลผมร่วงจากมลภาวะ
เช็คเลย! 6 สิทธิที่คู่รัก LGBTQIA+ จะได้รับจากกฎหมายสมรสเท่าเทียม
อาบน้ำอุ่นหรืออาบน้ำเย็น แบบไหนดีกว่ากัน? บอกต่อวิธีอาบน้ำหน้าหนาวที่ถูกต้อง
Sea Moss Gel คืออะไร? ส่อง 5 คุณประโยชน์ของ Sea Moss ที่สายเฮลตี้ต้องรู้
more+
What's new
more+
COMMENTS
28
ความคิดเห็น
NONAME
ความคิดเห็นที่ 28
ขอบคุณค่ะ
31 ม.ค. 2568 เวลา 10:55 น.
Emilie
ความคิดเห็นที่ 27
ดี
7 ธ.ค. 2567 เวลา 16:07 น.
kukkik_kanung
ความคิดเห็นที่ 26
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
19 พ.ย. 2567 เวลา 12:33 น.
chompu
ความคิดเห็นที่ 25
ขอบคุณค่ะ
15 พ.ย. 2567 เวลา 10:34 น.
Coco
ความคิดเห็นที่ 24
ขอบคุณมากนะคะ
11 พ.ย. 2567 เวลา 18:10 น.
สุธาสินี
ความคิดเห็นที่ 23
ขอบคุณความรู้ดีๆนะคะ
11 พ.ย. 2567 เวลา 18:05 น.
Himawari
ความคิดเห็นที่ 22
ขอบคุณค่ะ
6 พ.ย. 2567 เวลา 10:21 น.
Annie
ความคิดเห็นที่ 21
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
2 พ.ย. 2567 เวลา 11:27 น.
Supitcha
ความคิดเห็นที่ 20
Thanks
31 ต.ค. 2567 เวลา 21:09 น.
วรรณพร
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณค่ะ
31 ต.ค. 2567 เวลา 17:42 น.
Atchara
ความคิดเห็นที่ 18
ขอบคุณค่ะ
31 ต.ค. 2567 เวลา 16:01 น.
tewzaazaaa
ความคิดเห็นที่ 17
ขอบคุณสาระดีๆค่ะ
31 ต.ค. 2567 เวลา 10:38 น.
Kwang jira
ความคิดเห็นที่ 16
ต้องคอยสังเกตแล้วค่า
30 ต.ค. 2567 เวลา 21:45 น.
มนัสนันท์
ความคิดเห็นที่ 15
ขอบคุณค่ะ
30 ต.ค. 2567 เวลา 11:51 น.
Natchi
ความคิดเห็นที่ 14
ขอบคุณค่ะ
29 ต.ค. 2567 เวลา 13:36 น.
แม่โบอิ้งมารีวิว
ความคิดเห็นที่ 13
เป็นอาการที่เป็นทุกวันเลยยย
29 ต.ค. 2567 เวลา 9:07 น.
Lookyorr
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณค่ะ
28 ต.ค. 2567 เวลา 13:33 น.
มิ้งค์ ชลิดา
ความคิดเห็นที่ 11
ขอบคุณมากค่ะ
28 ต.ค. 2567 เวลา 12:24 น.
Woon_Chira
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณค่ะ
28 ต.ค. 2567 เวลา 11:27 น.
Phinyo Nakvaree
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณค่ะ
27 ต.ค. 2567 เวลา 20:02 น.
Pum Pui
ความคิดเห็นที่ 8
เป็นเหมือนกันค่ะ...ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำ
27 ต.ค. 2567 เวลา 19:38 น.
ดาบี
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณค่ะ
26 ต.ค. 2567 เวลา 23:01 น.
Nini
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณค่ะ
26 ต.ค. 2567 เวลา 20:01 น.
สุธาสินี
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณนะคะ
26 ต.ค. 2567 เวลา 19:00 น.
ซินหยาน
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณค่ะ
26 ต.ค. 2567 เวลา 17:58 น.
Kamonchanok
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณที่มาแชร์ค่ะ มีประโยชน์มาก
26 ต.ค. 2567 เวลา 14:12 น.
Domlagoon
ความคิดเห็นที่ 2
บางครั้งเราก็เป็นค่ะ
26 ต.ค. 2567 เวลา 8:28 น.
thitthamcharming
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณมากค่ะ
25 ต.ค. 2567 เวลา 21:42 น.
Recommended By *Cosmenet
La Roche Posay
CICAPLAST BAUME B5
5.0
(6 รีวิว)
อ่านรายละเอียด