ทำไมผู้หญิงสมัยนี้ถึงนิยมการฝากไข่ ? แล้วการฝากไข่คืออะไร ช่วยให้ผู้หญิงอายุมากตั้งครรภ์ได้จริงมั้ย ต้องอายุเท่าไหร่ถึงจะฝากไข่ได้ วันนี้ *Cosmenet รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ ไปอ่านต่อกันเลยย ~
การฝากไข่ คืออะไร?
การฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation หรือ Egg Freezing) เป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ของผู้หญิง เพื่อใช้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคต สำหรับคนที่ต้องการวางแผนมีลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสมและไข่ยังมีความสมบูรณ์ ไม่เสื่อมไปตามวัย และพร้อมปฏิสนธิเมื่อถึงเวลาที่เจ้าของเซลล์ไข่นั้นต้องการ
การฝากไข่เหมาะกับใคร?
คนที่เหมาะที่จะฝากไข่ก่อนการตัดสินใจตั้งครรภ์ ได้แก่
- สาว ๆ ที่วางแผนจะมีลูกในอนาคต : สำหรับคนที่รู้ตัวเองแน่ ๆ ว่าอยากมีเบบี๋ในช่วงเวลาไหน สามารถเริ่มฝากไข่ได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีและทำตามแพลนตัวเองได้เลย
- ผู้ที่มีความเสี่ยงในการมีลูกยาก : สำหรับคนที่มีปัจจัยทางสุขภาพ และมีพันธุกรรมมีลูกยาก แต่รู้ตัวว่าอยากมีลูก ก็สามารถเริ่มฝากไข่ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ เพื่อให้เซลล์ไข่มีความแข็งแรงและสมบูรณ์พร้อมใช้ หรือก่อนนำไปทำเด็กหลอดแก้ว
- มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ : หากในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งหรือโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์อย่างรุนแรง อาจจะต้องวางแผนการตั้งครรภ์และการฝากไข่ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะการผ่าตัดรังไข่ และการฉายแสง จะทำให้ร่างกายตกไข่ได้น้อยลง
ฉะนั้น สาว ๆ คนไหนที่กำลังวางแผนเรื่องการมีเบบี๋ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไงดี เริ่มที่การฝากไข่เพื่อคงสภาพไข่ที่สมบูรณ์เอาไว้ก่อนก็ได้ค่ะ จะได้เมกชัวร์ว่าน้องเบบี๋ที่จะเกิดมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดีอย่างแน่นอน และคุณแม่ก็มีเบบี๋ในตอนที่พร้อมสุด ๆ ได้พอดีเลยย ~
ควรฝากไข่ตอนอายุเท่าไหร่ดี?
จากการค้นคว้าข้อมูล ทางการแพทย์แนะนำว่าผู้หญิงสามารถเริ่มฝากไข่ได้ตั้งแต่อายุ 25 ปี และไม่ควรเกินอายุ 35 ปี เพื่อให้เซลล์ไข่มีความสมบูรณ์และมีจำนวนมากพอที่จะนำมาคัดเลือกและจัดการฝากไข่เอาไว้
แต่ถ้าหากอายุมากกว่า 35 ปี ก็สามารถฝากไข่ได้ เพียงแต่จำนวนไข่ต่อรอบที่ได้รับการกระตุ้นนั้นอาจมีจำนวนไม่มากเท่าการเข้าฝากไข่ตั้งแต่อายุยังน้อยค่ะ
ไข่ที่ฝาก อยู่ได้นานขนาดไหน?
จริง ๆ แล้วการฝากไข่จะช่วยยืดอายุและเก็บรักษาเซลล์ไข่ไว้ได้นานมาก ๆ เรียกได้ว่าแทบจะอยู่ได้ตลอดไปเลยค่ะ เพราะไข่จะถูกลดอุณหภูมิลงจนติดลบ และอยู่ในจุดที่เซลล์ไข่หยุดการทำงานจนแทบจะไม่เสื่อมสภาพเลย ยิ่งรักษาอุณหภูมิได้คงที่เท่าไหร่ ไข่ก็จะอายุยืนยาวเท่านั้น
แต่จากรีเสิร์ชที่ทางการแพทย์ออกมาชี้แจงหลังผ่านการวิจัยแล้ว บอกไว้ว่าการฝากไข่สามารถยืดอายุของไข่ได้นาน 5-10 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับวัยที่พร้อมจะตั้งครรภ์ หากใช้ไข่ที่ฝากไว้ในเวลาที่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดโอกาสการตั้งครรภ์สูงถึง 75-80% แต่หากเก็บไว้นานเกินไป และไม่นำออกมาใช้สักที ร่างกายของเราเองนี่แหละค่ะที่อาจไม่พร้อมและไม่สามารถที่จะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยอีกต่อไปป
ข้อดีและข้อควรระวังในการฝากไข่
ข้อดีของการฝากไข่
- ช่วยในการวางแผนก่อนมีลูก : สำหรับสาว ๆ ที่อยากจะกำหนดช่วงเวลาที่อยากมีลูกเอง การเก็บไข่จึงเป็นหนทางที่ทำให้สามารถแพลนระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการได้
- ลดโอกาสการเกิดความผิดปกติของโครโมโซม : ไข่ที่ฝากไว้ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีความสมบูรณ์ ทำให้ลดความเสี่ยงที่เด็กจะมีอาการปกติทางร่างกายและสมองได้
- คงสภาพของไข่เอาไว้ได้จนถึงเวลาที่จะใช้งาน : เซลล์ของไข่อยู่ในอุณหภูมิติดลบ ทำให้ชะลอการเสื่อมสภาพ และทำให้ไข่มีอายุยืดขึ้นได้มากถึง 5-10 ปี
- เพิ่มโอกาสในการมีลูกเมื่ออายุเยอะได้ : เพราะไข่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้ยาวนานถึง 10 ปี ทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จในกุ่มคนที่ฝากไข่ มากกว่าอัตราของคนรุ่นเดียวกันที่ท้องธรรมชาติแบบไม่ฝากไข่ค่ะ
ข้อควรระวังในการฝากไข่
- ผลข้างเคียงกับอารมณ์และร่างกาย : เนื่องจากก่อนการฝากไข่ จะต้องกระตุ้นการตกไข่ด้วยการฉีดยา ทำให้เกิดผลข้างเคียงทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า ฉุนเฉียว และอาจรู้สึกร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การอึดอัดร่างกาย หน่วงท้องน้อย หรือมีอาการปวดได้
- มีค่าใช้จ่ายสูง : เนื่องจากการฝากไข่ เป็นนวัตกรรมที่ค่อนข้างมีขั้นตอนที่ละเอียด และการจัดเก็บที่ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีค่อนข้างมาก จึงทำให้บริการนี้มีราคาที่สูง อาจต้องพิจารณาตามความสะดวกของแต่ละคนอีกครั้งก่อนเข้ารับบริการนะคะ
การฝากไข่ มีราคาค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง?
ราคาแพ็กเกจค่าฝากไข่ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ก็มีตั้งแต่ 75,000 - 200,000++ บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล และการให้บริการที่แตกต่างกันไป โดย *Cosmenet รวบรวมข้อมูลจากแต่ละโรงพยาบาลมาให้คร่าว ๆ ดังนี้ค่าา
ใครที่มีงบและมีแพลนอยากมีน้องเบบี๋ตัวน้อย ๆ ก็ลองศึกษาข้อมูล ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม และดูบริการพร้อมแพ็คเกจที่ถูกใจก่อนเริ่มการฝากไข่ได้เลยนะคะะ
การท้องและมีครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย หากความต้องการยังไม่เท่ากันและจัดการไม่ได้
ไปดูวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ต่อได้ที่นี่